ข่าวสาร

โครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มทร.+2 ครั้งที่ 10

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (มทร.+2)  จัดโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการ
ความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 10 “การจัด
การความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้” (Knowledge Management to  Learning Organization : KM to LO)
ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรม เอวัน เดอะ รอยัล ครูส พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมี
มทร.ตะวันออก และสถาบันการพลศึกษา เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก นายภัครธรณ์  เทียนไชย
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด มีการบรรยายพิเศษเรื่อง “Social Enterprise” โดย ดร.สาธิต
พุทธชัยยงค์ และบรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนาคนสู่ Thailand 4.0” โดย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร  กิจกรรมใน
โครงการประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “1 ทศวรรษ การจัดการความรู้ 9 ราชมงคล+2 สถาบันตามรอยพ่อ”
โดย มทร.พระนคร มทร.ตะวันออก สถาบันการพลศึกษา และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การนำเสนอผลงาน
อาจารย์และบุคลากร “การจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้” และการนำเสนอผลงานภาคบรรยายของ
นักศึกษา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน”

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี “ชุมชนนักปฏิบัติ” จำนวน 7 กลุ่มประกอบด้วย

CoP 1 การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต : 1 ทศวรรษ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ
ผู้เสวนา  นายมนตรี รัตนวิจิตร  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

 

CoP 2 งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ : การค้นหาหัวข้อวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เชิงบูรณาการเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์
ผู้เสวนา นายสุนันท์  มนต์แก้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

CoP 3 การบริการวิชาการ : การบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง
ผู้เสวนา นายธานี  สุคนธะชาติ   คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

 

CoP 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสู่ชุมชน
คุณอำนวย ผศ.เจทญา กิจเกิดแสง   ผู้อำนวยการกองศิลปวัฒนธรรม

 

CoP 5 การบริหารจัดการ : การนำองค์ความรู้สู่การพัฒนาองค์กร
ผู้เสวนา  นายนฤศร มังกรศิลา  คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

 

CoP 6 การประกันคุณภาพการศึกษา : QA เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ผู้เสวนา  นายวรวุฒิ บุญกล่ำ  สำนักประกันคุณภาพ

 

CoP 7 การพัฒนานักศึกษา : การพัฒนานักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา
ผู้เสวนา นายอรรถการ สัตยพาณิชย์   คณบดีคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

 

ตลอดจนมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของอาจารย์/บุคลากรและนักศึกษา

 

การประกวดแนวปฏิบัติที่ดี สำหรับนักศึกษา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน”  นายกวินท์ อิสสระวาณิชย์
นายคมชาญ โชติวรอนันต์ และ น.ส.ชญานี แหยมเจริญ  นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้รางวัลบทความดีเด่น เหรียญเงิน จากผลงานเรื่อง “โครงการ
พัฒนานวัตกรรมชุมชนคู่บูรณาการความรู้สู่สังคมเพื่อสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนระหว่างประเทศ บนพื้นฐาน
ความพอเพียง”

 

แนวปฏิบัติที่ดีของอาจารย์ จากหน่วยงานที่ส่งเข้าร่วมประกวด ประกอบด้วย

  1. การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
    โดยอาจารย์ขนิษฐา ดีสุบิน
    จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  2. การสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในศตวรรษที่ 21 สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
    โดยอาจารย์นฤศร มังกรศิลา
    จากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
  3. MCT สื่อมวลชนนักปฏิบัติสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
    โดย นายอรรถการ สัตยพาณิชย์ นางสาวเณริศา ชัยศุภมงคลลาภ นางสาวดุริยางค์ คมขำ และนายธีรวัจน์ อุดมสินเจริญกิจ
    จากคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
  4. การศึกษาการออกแบบและสร้างต้นแบบชิ้นงานยางปิดฝาวาล์วในรถใช้ก๊าซธรรมชาติ
    โดยอาจารย์ธวัชชัย ชาติตำนาญ  และอาจารย์จักรวัฒน์ เรืองแรงสกุล
    จากคณะวิศวกรรมศาสตร์
  5. เรื่องเล่าจากงานวิจัยชุมชนรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มภาคกลางตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
    โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ โพธิ์พฤษานันท์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญานันท์ กุลฑลบุตร
    จากคณะศิลปศาสตร์

แนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา ที่ส่งเข้าร่วมประกวด ประกอบด้วย

  1. รถสำรวจวัตถุต้องสงสัยควบคุมผ่านระบบ Wi-Fi
    โดยนายชุมพร ล้วนเส้ง  นายเทวิน บัวสี  นายอภิชาต จำนงสังข์ และอาจารย์ขนิษฐา ดีสุบิน (ที่ปรึกษา)
    จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  2. ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าบนแอพพลิเคชั่นของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
    โดยนายนิพนธ์ เอี่ยมอู๋ นายบัญญัติ เคล้าคลึง  นางสาวมัทนา เพ็ชร์เศษ และอาจารย์ขนิษฐา ดีสุบิน (ที่ปรึกษา)
    จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  3. โครงการพัฒนานวัตกรรมชุมชนคู่บูรณาการความรู้สู่สังคมเพื่อสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนระหว่างประเทศ บนพื้นฐานความพอเพียง
    โดยนายกวินท์ อิสสระวาณิชย์ นายคมชาญ โชติวรอนันต์ และนางสาวชญานี  แหยมเจริญ
    จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

การดำเนินโครงการได้รับความสนใจจากอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจ เข้าร่วมถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและปัจจัยความสำเร็จ เป็นการพัฒนาความรู้ของอาจารย์/บุคลากร และนักศึกษาระหว่างเครือข่าย อีกทั้งเสริมสร้างความร่วมมือ ความร่วมแรงร่วมใจเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน นำการจัดการความรู้มาพัฒนามหาวิทยาลัยสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

 

Loading