ศูนย์การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้จัดโครงการการบริหารจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ
เรื่อง โครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
“ราชมงคล…บูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ” ร่วมกับเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 3 – 5 เมษายน 2555
โดยกิจกรรมประกอบด้วย
- การบรรยายพิเศษ เรื่องการสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ที่ยั่งยืน โดย รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ
- เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดย
ดร.เลิศชัย สุธรรมานนท์ และ อ.วิเชศ คำบุญรัตน์ จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
- การแบ่งกลุ่มย่อยดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อนำเสนอแนวคิด/หลักการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 9 CoP ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครได้ส่ง Good Practices จากคณะและหน่วยงานสนันสนุนเข้าร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่
- กระบวนการจัดการเรียนการสอน ใช้ทักษะที่มีเทคโนโลยีเป็นฐาน(Technology Based Education – Training) : อาจารย์ขนิษฐา ดีสุบิน จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- ระบบและกลไกการสร้างความเชี่ยวชาญวิชาชีพ (Professional Oriented) ให้กับนักศึกษา :
อาจารย์ธานี สุคนธะชาติ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ - ระบบกลไกพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) : ผศ.สุขุมาล หวังวณิชพันธุ์ จากสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : อาจารย์ทินวงษ์ รักอิสสระกุล จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
- การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ : ผศ.ลักขณา จาตกานนท์ จากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
- การบริการวิชาการแก่สังคมแบบมีส่วนร่วม : อาจารย์สัมภาษณ์ สุวรรณคีรี และอาจารย์นฤพน ไพศาลตันติวงศ์ จากคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น
- การบริหารจัดการด้าน IT (สายสนันสนุนวิชาการ) : น.ส.เพชราภรณ์ เพ็ชรแก้ว จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การพัฒนากระบวนการทำงานประกันคุณภาพ (QA) : ผศ.สุใจ พรเจิมกุล จากคณะบริหารธุรกิจ
- ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม : ผศ.เจทญา กิจเกิดแสง จากกองศิลปวัฒนธรรม
ในส่วนการจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ มีการนำเสนอผลงานนิทรรศการจัดการความรู้
“ราชมงคลพระนคร…บูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ” เรื่อง งานวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมเรื่องการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผักตบชวา การบูรณาการเครือข่ายสร้างองค์ความรู้ (นักวิจัย นักศึกษา ชุมชน) ตลอดจนสร้างองค์กรการเรียนรู้ และเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างหรือเพิ่มศักยภาพด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรบุคคล ธรรมชาติและเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ยังได้นำผลงาน Good Practices ของมหาวิทยาลัย ในเรื่องระบบกลไกพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ กระบวนการจัดการเรียนการสอนใช้ทักษะที่มีเทคโนโลยีเป็นฐานและระบบและกลไกการสร้างความเชี่ยวชาญวิชาชีพให้กับนักศึกษาร่วมเผยแพร่ด้วย ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศของการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันภายในงาน โดยมีผู้ให้ความสนใจในส่วนของการจัดนิทรรศการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเป็นอย่างมาก