Page 10 - 4-5portraitphoto
P. 10
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นับเป็น
หน่วยงานที่มีภารกิจการให้บริการที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน (e-Services) ที่ทันสมัยและเป็น
สากลสนับสนุนมหาวิทยาลัยในการก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ดำเนินการจัดหา ผลิตและพัฒนา
ทรัพยากรสารนิเทศเพอการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ พัฒนาและจัดหาระบบงาน ฐานข้อมูล
ื่
ต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน การบริหารจัดการ ผลิตสื่อการศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษา
ทางไกล สนับสนุนและสร้างผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่องานด้านระบบสารสนเทศ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 5 กลุ่มงาน ได้แก่
กลุ่มบริหารทั่วไป กลุ่มวิทยบริการ กลุ่มพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่มเทคโนโลยี
สารสนเทศ กลุ่มเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ในส่วนของกลุ่มพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี
การศึกษา มีภารกิจและหน้าที่หลักคือเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทั้งปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน
และมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการในการพัฒนานวัตกรรมสื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อวีดิทัศน์
แนะนำประชาสัมพนธ์ ผลิตสื่อการศึกษา สื่อกราฟิก สื่อเสียง สื่อภาพนิ่ง และสื่อการเรียนการสอนออนไลน์
ั
(e-Learning) รวมทั้งการให้บริการห้องปฏิบัติการทางด้านโทรทัศน์ ห้องบันทึกเสียง ห้องสตูดิโอถ่ายภาพ
และโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ
สำหรับการผลิตสื่อภาพนิ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการถ่ายภาพบุคคล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการ
ให้บริการสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการถ่ายภาพเพื่อการ
ประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงานและภาพโครงการ กิจกรรม ต่างๆ ของบุคลากรและ
นักศึกษา ซึ่งภาพถ่ายถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ดังกล่าว ด้วย
วิธีการนำเสนอภาพถ่ายผ่านสื่อประเภทต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร แผ่นพับ โบรชัวร์ คัทเอาท์
บอร์ด ฯลฯ สื่อเทคโนโลยี เช่น สื่อวีดิทัศน์การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม วีดิทัศน์วันสถาปนา
มหาวิทยาลัย วีดิทัศน์ Presentation มหาวิทยาลัย ฯลฯ และสื่อดิจิทัล เช่น Facebook, Line, Social
Media ต่างๆ เป็นต้น
จากความเป็นมาและสำคัญดังกล่าว ผู้เขียนจึงมีความสนใจเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน
เรื่อง การถ่ายภาพบุคคลในสตูดิโอ เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานหรือถือปฏิบัติที่เป็นไปในแนวทาง
เดียวกัน และเกิดประสิทธิผลประโยชน์สูงสุดต่อบุคลากรในหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยต่อไป