เป็นการประเมินเพื่อต้องการทราบว่า ผู้เรียน มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งบูรณาการกันในตัวผู้เรียนแล้วแสดงออกมาให้ ปรากฎในในชีวิตประจำวันตามสภาพที่แท้จริง (AUTHENTIC PERFORMANCE) มากน้อยเพียงใด ผลการประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียนจะพัฒนามากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการเรียนการสอนและการเรียนรู้ตามสภาพจริง (AUTHENTIC LEARNING) ซึ่งตามแนวทางการจัดการศึกษา หมวด 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ”
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ตามมาตรา 22 ผู้สอนจะต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CHILD CENTER) ซึ่งอาจจะมีหลักการดังนี้
- ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง (CONSTRUCT)
- ให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข (HAPPYNESS)
- ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (INTERACTION)
- ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่กบผลงาน/ความรู้ที่สรุปได้
- ให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด (PARTICIPATION)
- ให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (APPLICATION)
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องออกแบบการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงหลักการข้างต้น และเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม (วิธีการ, สื่อ, เครื่องมือ) ที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อหา สาระ รวมทั้งกำหนดวิธีการจัดประเมินผลผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 26 กำหนดว่า “ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตุพฤติหรรม การเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่กันไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
ให้สถานศึกษาใช้วิธีการหลากหลายในการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อ และนำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่ง มาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย” ซึ่งการประเมินผลตามแนวทาง ตามพรบ. จะต้องประเมินด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลตามสภาพจริงของผู้เรียน นั่นคือต้องประเมินตามสภาพจริง (AUTHENTIC ASSESSMENT) เป็นการประเมินความรู้ความสามารถ หรือผลการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน ซึ่งผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพจริง ในสถานการณ์ที่เป็นชีวิตจริง ซึ่งมีลักษณะดังนี้
- เน้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เพื่อสะท้อนถึงความรู้ ความสามารถ ที่แท้จริง เช่น ครูให้นักเรียนเขียนเรียงความ
- มุ่งหาจุดเด่นของผู้เรียนมากกว่าหาจุดด้อย เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
- ไม่เน้นประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน (SKOLL ASSESSMENT) แต่เน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนของผู้เรียน (COMPLEX THINKING SKILL) ในการทำงาน เช่น ให้นักเรียนสร้างงานที่แสดงถึงความคิดที่ซับซ้อน
- เน้นการประเมินที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน
- ใช้รูปแบบการประเมินหลายๆ วิธี เช่น การสังเกต การตรวจผลงาน การสัมภาษณ์ และการเก็บสะสมผลงาน เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้เรียนที่แท้จริงทุกแง่มุม
- เน้นการร่วมมือในการประเมินระหว่างผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่สามารถยืนยันถึงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน
- เน้นให้ผู้เรียนรู้จักพัฒนาตนเอง มากกว่านำไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น
- การประเมินผลจะสัมพันธ์กลมกลืนไปกับการเรียนการสอน โดยไม่แยกออกจากกัน ครูสามารถประเมินผู้เรียนได้ทุกขณะที่นักเรียนกำลังทำกิจกรรม
จะเห็นได้ว่าการประเมินตามสภาพจริง (AUTHENTIC ASSESSMENT) เป็นการประเมินที่เน้นการเรียนรู้ที่แท้จริงของนักเรียน (AUTHENTIC PERFORMANCE) เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานสถานการณ์ในชีวิตจริง โดยเน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ และต้องมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาที่ปรากฎให้เห็นใช้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการประเมินหลายฝ่ายและเกิดขึ้นในทุกขณะที่เป็นไปได้ซึ่งการประเมินผลจะต้องใช้เครื่องมือประเมินอย่างหลากหลาย และเครื่องมือประเมินชนิดหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินสภาพจริง ได้แก่ การใช้ แฟ้มสะสมงาน, แฟ้มผลงานดีเด่น, แฟ้มพัฒนางาน(PORTFOLIO)