ข่าวสาร

โครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มทร.+2 ครั้งที่ 9

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (มทร.+2)  จัดโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 9 “ชุมชนนักปฏิบัติ สู่การจัดการความรู้ ในศตวรรษที่ 21” (Community of Practice for Knowledge Management in the 21st century) ระหว่างวันที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษเรื่อง “ชุมชนนักปฏิบัติ สู่การจัดการความรู้ ในศตวรรษที่ 21” กิจกรรมในโครงการประกอบด้วยการเสวนาวิชาการเรื่อง “ชุมชนนักปฏิบัติ สู่การจัดการความรู้ ในศตวรรษที่ 21” โดยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มี ประสบการณ์ จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การประกวดแนวปฏิบัติที่ดีของอาจารย์และบุคลากรเรื่อง “ชุมชนนักปฏิบัติ สู่การจัดการความรู้ ในศตวรรษที่ 21” และของนักศึกษาเรื่อง “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน”

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี “ชุมชนนักปฏิบัติ” จำนวน 7 กลุ่มประกอบด้วย

                การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต : การพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ : การค้นหาหัวข้อวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เชิงบูรณาการเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์

                การบริการวิชาการ : การบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง

                การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : ฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ AEC

                การบริหารจัดการ : การบริหารความเสี่ยงในองค์กร

                การประกันคุณภาพการศึกษา : บทบาทของคณะต่อการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร

                และการพัฒนานักศึกษา : P-D-C-A หัวใจสำคัญกับการประกันคุณภาพและกิจกรรมโครงการนักศึกษา

ตลอดจนมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของอาจารย์/บุคลากรและนักศึกษา

 

การประกวดแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง “ชุมชนนักปฏิบัติ สู่การจัดการความรู้ ในศตวรรษที่ 21” ผศ. ดร.ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ จากคณะศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลบทความดีเด่น เหรียญเงิน พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท จากผลงาน “รูปแบบการพัฒนาน้ำข้าวกล้องผสมสมุนไพร โดยวิธีการบูรณาการการจัดการความรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่ชุมชนของนักวิจัยปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออก กรณีศึกษาชุมชนบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี”

 

อาจารย์เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ และอาจารย์กุลธิดา สายพรหม จากคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ได้รับรางวัลบทความดีเด่น เหรียญทองแดง พร้อมเงินรางวัล 4,000 บาท จากผลงาน “ชุมชนนักปฏิบัติ : พลังขับเคลื่อน MCT สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21”

 

ผศ.จุฑามาศ พีรพัชระ จากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลบทความดีเด่น เหรียญทองแดง พร้อมเงินรางวัล 4,000 บาท จากผลงาน “ภูมิปัญญาอาหารไทยพื้นบ้านกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต” และรางวัลบทความดีเด่น “ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรแปรรูปกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”

 

การประกวดแนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา เรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ผู้แทนนักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย นางสาวทวีทรัพย์ ปั้นอินทร์ นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นายคมชาญ โชติวรอนันต์ นักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรม และนายกวินท์ อิสสระวาณิชย์ นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้รับรางวัล บทความดีเด่น พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท จากผลงาน โครงการพัฒนานวัตกรรมชุมชนสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ชุมชนดาวเรือง จังหวัดสระบุรี

 

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 7 CoP ได้แก่

CoP ที่ 1 การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต : การพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

CoP ที่ 2 งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ : การค้นหาหัวข้อวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เชิงบูรณาการเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์

CoP ที่ 3 การบริการวิชาการ : การบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง

CoP ที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : ฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ AEC

CoP ที่ 5 การบริหารจัดการ : การบริหารความเสี่ยงในองค์กร

CoP ที่ 6 การประกันคุณภาพการศึกษา : บทบาทของคณะต่อการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร

CoP ที่ 7 การพัฒนานักศึกษา : P-D-C-A หัวใจสำคัญกับการประกันคุณภาพและกิจกรรม

การดำเนินโครงการได้รับความสนใจจากอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจ เข้าร่วมถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและปัจจัยความสำเร็จ เป็นการพัฒนาความรู้ของอาจารย์/บุคลากร และนักศึกษาระหว่างเครือข่าย อีกทั้งเสริมสร้างความร่วมมือ ความร่วมแรงร่วมใจเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาการจัดการความรู้พร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21

Loading