สรุปจาก Problem Based Learning โดย ดร. นุชลี อุปภัย
หลักการ | คำอธิบาย |
---|---|
หลักข้อที่ 1 ธรรมชาติของการเรียนรู้ |
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนได้ดีที่สุดด้วยการนำข้อมูลและ ประสบการณ์มาทำให้มีความหมายขึ้นภายในตนเอง |
หลักข้อที่ 2 เป้าหมายของกระบวนการเรียนรู้ |
การแนะแนวและสนับสนุนจากผู้สอนจะทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการเรียน และสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย |
หลักข้อที่ 3 การสร้างความรู้ |
ผู้เรียนที่บรรลุความสำเร็จต้องสามารถเชื่อมโยงข้อมูลใหม่ให้เข้ากับความรู้เดิมที่มีอยู่อย่างมีความหมาย |
หลักข้อที่ 4 การคิดเชิงกลยุทธ์ |
ผู้เรียนต้องสามารถสร้างความรู้ และใช้ความรู้ที่สะสมอยู่เดิม รวมทั้งใช้เหตุผลของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ |
หลักข้อที่ 5 การคิดเกี่ยวกับความคิดของตนเอง |
การเลือกวิธีการดำเนินงานที่เหมาะสม และความสามารถในการ ติดตาม ตรวจสอบความคิดของตน นับเป็นสิ่งสำคัญ |
หลักข้อที่ 6 บริบทของการเรียนรู้ |
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการสั่งสอนล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน |
หลักข้อที่ 7 อารมณ์และแรงจูงใจมีผลต่อการเรียนรู้ |
แรงจูงใจในการเรียนมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ ซึ่งแรงจูงใจส่วนใหญ่ เป็นผลมาจากสภาวะทางอารมณ์ของผู้เรียน ความเชื่อ ความสนใจเป้าหมาย ตลอดจนความเคยชินของการคิด |
หลักข้อที่ 8 การจูงใจภายในในการเรียน |
ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดในขั้นสูง และความอยากรู้อยากเห็น ทำให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการเรียน ซึ่งแรงจูงใจภายในดังกล่าวจะต้อง เกิดจากงานที่มีความยากและท้าทายความคิด รวมทั้งให้โอกาสในการ เลือกและสามารถควบคุมการทำงานด้วยตนเองได้ |
หลักข้อที่ 9 ผลกระทบของการจูงใจต่อความพยายาม |
การได้ความรู้และทักษะที่ซับซ้อนจำเป็นต้องอาศัยความพยายาม และ การฝึกฝน ซึ่งถ้าผู้เรียนปราศจากแรงจูงใจในการเรียนก็จะไม่เกิดความพยายาม และการเรียนก็จะกลายเป็นการบังคับให้เรียน |
หลักข้อที่ 10 อิทธิพลของพัฒนาการต่อการเรียนรู้ |
บุคคลแต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันไป การเรียนรู้จะได้ผลดีเมื่อนำพัฒนาการที่แตกต่างหลากหลายทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมเหล่านี้ของผู้เรียนเข้ามาพิจารณาประกอบด้วย |
หลักข้อที่ 11 อิทธิพลของสังคมต่อการเรียนรู้ |
การปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสารสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการเรียนรู้แทบทั้งสิ้น |
หลักข้อที่ 12 ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้ |
ผู้เรียนจะมีกลวิธี และความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน |
หลักข้อที่ 13 การเรียนรู้และความหลากหลาย |
การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และสังคมของผู้เรียน ถูกนำมาพิจารณาด้วย |
หลักข้อที่ 14 มาตรฐานและการวัดผล |
การตั้งมาตรฐานและการวัดผลที่เหมาะสมและท้าทายนับเป็นส่วน สำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน |