แนวคิดและทฤษฎี

การประเมินผลสภาพจริง (Authentic Assessment)

เป็นการประเมินเพื่อต้องการทราบว่า ผู้เรียน มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งบูรณาการกันในตัวผู้เรียนแล้วแสดงออกมาให้ ปรากฎในในชีวิตประจำวันตามสภาพที่แท้จริง (AUTHENTIC PERFORMANCE) มากน้อยเพียงใด ผลการประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียนจะพัฒนามากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการเรียนการสอนและการเรียนรู้ตามสภาพจริง (AUTHENTIC LEARNING) ซึ่งตามแนวทางการจัดการศึกษา หมวด 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ”

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ตามมาตรา 22 ผู้สอนจะต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CHILD CENTER) ซึ่งอาจจะมีหลักการดังนี้

  1. ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง (CONSTRUCT)
  2. ให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข (HAPPYNESS)
  3. ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (INTERACTION)
  4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่กบผลงาน/ความรู้ที่สรุปได้
  5. ให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด (PARTICIPATION)
  6. ให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (APPLICATION)

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องออกแบบการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงหลักการข้างต้น และเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม (วิธีการ, สื่อ, เครื่องมือ) ที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ เนื้อหา สาระ รวมทั้งกำหนดวิธีการจัดประเมินผลผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 26 กำหนดว่า “ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตุพฤติหรรม การเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่กันไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา

ให้สถานศึกษาใช้วิธีการหลากหลายในการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อ และนำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่ง มาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย” ซึ่งการประเมินผลตามแนวทาง ตามพรบ. จะต้องประเมินด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลตามสภาพจริงของผู้เรียน นั่นคือต้องประเมินตามสภาพจริง (AUTHENTIC ASSESSMENT) เป็นการประเมินความรู้ความสามารถ หรือผลการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน ซึ่งผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพจริง ในสถานการณ์ที่เป็นชีวิตจริง ซึ่งมีลักษณะดังนี้

  1. เน้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เพื่อสะท้อนถึงความรู้ ความสามารถ ที่แท้จริง เช่น ครูให้นักเรียนเขียนเรียงความ
  2. มุ่งหาจุดเด่นของผู้เรียนมากกว่าหาจุดด้อย เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
  3. ไม่เน้นประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน (SKOLL ASSESSMENT) แต่เน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนของผู้เรียน (COMPLEX THINKING SKILL) ในการทำงาน เช่น ให้นักเรียนสร้างงานที่แสดงถึงความคิดที่ซับซ้อน
  4. เน้นการประเมินที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน
  5. ใช้รูปแบบการประเมินหลายๆ วิธี เช่น การสังเกต การตรวจผลงาน การสัมภาษณ์ และการเก็บสะสมผลงาน เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้เรียนที่แท้จริงทุกแง่มุม
  6. เน้นการร่วมมือในการประเมินระหว่างผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่สามารถยืนยันถึงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน
  7. เน้นให้ผู้เรียนรู้จักพัฒนาตนเอง มากกว่านำไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น
  8. การประเมินผลจะสัมพันธ์กลมกลืนไปกับการเรียนการสอน โดยไม่แยกออกจากกัน ครูสามารถประเมินผู้เรียนได้ทุกขณะที่นักเรียนกำลังทำกิจกรรม

จะเห็นได้ว่าการประเมินตามสภาพจริง (AUTHENTIC ASSESSMENT) เป็นการประเมินที่เน้นการเรียนรู้ที่แท้จริงของนักเรียน (AUTHENTIC PERFORMANCE) เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานสถานการณ์ในชีวิตจริง โดยเน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ และต้องมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาที่ปรากฎให้เห็นใช้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการประเมินหลายฝ่ายและเกิดขึ้นในทุกขณะที่เป็นไปได้ซึ่งการประเมินผลจะต้องใช้เครื่องมือประเมินอย่างหลากหลาย และเครื่องมือประเมินชนิดหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินสภาพจริง ได้แก่ การใช้  แฟ้มสะสมงาน, แฟ้มผลงานดีเด่น, แฟ้มพัฒนางาน(PORTFOLIO)

Loading