Page 40 - silkvalue
P. 40

39

        (7) ราวตั้งหลอด (หรือ รางค้น)
               ราวตั้งหลอดค้นเส้นด้ายยืนแบบดั้งเดิม ใช้ส าหรับการทอผ้าด้วยกี่พื้นบ้าน

        ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นรางไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวประมาณ 139 – 255

        เซนติเมตร กว้างประมาณ 25 - 28 เซนติเมตร แกนของรางค้นแต่ละแกนใส่หลอด
        ค้นได้ 2 หลอด ปัจจุบันมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงลักษณะไปบ้างแต่หลักการใช้งาน

        ยังคงเดิม หน้าที่ของรางค้น คือ เป็นอุปกรณ์ส าหรับใส่หลอดค้นด้ายเมื่อต้องการค้น

        เส้นด้ายยืน


        (8) ฟืม (ฟันหวี หรือ ทะเม็ง)

               เป็นเครื่องมือทอผ้าที่มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยส่วน
        ฟันฟืม และกรอบฟืมมีขนาดกว้างประมาณ 14 – 16 เซนติเมตร ยาวประมาณ 90

        – 105 เซนติเมตร ฟันฟืมมีลักษณะเป็นซี่ท าด้วยไม้ไผ่เหลาให้บางที่สุด มีความ
        กว้างประมาณครึ่งเซนติเมตร ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร น ามาร้อยเชือกตรึงติด

        เรียงเป็นแถว ปัจจุบันนิยมท าซี่ฟืมด้วยเหล็กหรือทองเหลือง ส่วนกรอบฟืมท าด้วย

        ไม้เนื้อแข็ง ตีเป็นกรอบล้อมส่วนฟันฟืม ประกอบด้วยไม้ ๒ ชิ้นที่มีความยาวเท่ากัน
        ไม้ด้านบนมีขนาดกว้างกว่าไม้ด้านล่าง ไม้ทั้ง 2 ชิ้นเจาะรูทางด้านปลายทั้งสองข้าง

        ไว้ส าหรับสอดไม้ยึดไว้ ฟืม ท าหน้าที่ใช้เป็นช่องส าหรับสอดเส้นด้ายยืนเข้าไป และ
        กระทบเส้นด้ายพุ่งให้ชิดกันแน่นกับเส้นด้ายยืนเป็นผืนผ้า (รายละเอียดดังภาพที่

        30)


        (9) ไม้ร้อยฟันหวี (หรือ ไม้สอด)

               ไม้ร้อยฟันหวีท าด้วยโลหะ พลาสติก หรือไม้ไผ่เหลาบางและแบน ส่วน

        ปลายท าเป็นตะขอหรือเงี่ยงส าหรับเกี่ยวเส้นไหม ในกรณีท าด้วยโลหะต้องมีด้าม
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45