Page 6 - silkvalue
P. 6
5
ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใส่สวมใส่ผ้าไหมที่มีสีตก สีเหล่านั้นจะ
แทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้
3) ขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับขั้นตอนการย้อมสีสังเคราะห์ บนเส้นไหม
กล่าวคือ กลุ่มวิสาหกิจมีความเข้าใจว่าการย้อมสีสังเคราะห์บนเส้นไหม ถ้า
อยากได้สีเข้มๆ ก็ต้องใส่สีย้อมลงในน้ าย้อมในปริมาณที่มากๆ
4) วิสาหกิจชุมชนไม่เข้าใจวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติบนเส้นไหม กล่าวคือ
วิสาหกิจมีความเชื่อว่าสีที่ได้จากธรรมชาติที่สามารถย้อมบนเส้นไหมได้ มี
เฉพาะเฉดสีแดง สีเหลือง สีน้ าตาล และสี ด า เท่านั้น
5) ขาดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบลวดลาย การสร้างลวดลาย และการแปร
รูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ให้เป็นที่ต้องการของตลาดสากล
6) วิสาหกิจชุมชนมีความต้องการเพิ่มมูลค่าดักแด้ไหม เศษผ้าไหม หรือเศษ
เส้นด้ายไหมจากการผลิตสิ่งทอ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
7) วิสาหกิจชุมชนมีความต้องการรูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสิ่งทอ
8) กระบวนการทอผ้าไหมยังไม่ได้มาตรฐาน ผ้าที่ผลิตออกมายังมีฟังก์ชันการ
ใช้งานที่น้อย
9) ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมยังไม่ได้รับเครื่องหมาย หรือตรารับรอง เช่นมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
หรือ ตรานกยูง
จากปัญหาดังกล่าวคณะผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดที่จะด าเนินการจัดการ
ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนาผ้าไหม ให้ได้มาตรฐานและเป็นที่
ต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติที่ดี
ตระหนักถึงคุณค่าการสืบทอดภูมิปัญญาผ่านวิถีวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดด
เด่นแตกต่างของเส้นทางไหมราชธานีเจริญศรีโสธร