Page 18 - 3-8DSpace
P. 18
11
ภาพที่ 3-2 โครงสร้างการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย มทร. พระนคร ใหม่
จากภาพที่ 3-2 เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่ใช้งานมาจนถึงในปัจจุบัน แต่ได้ทำการปรับปรุงลิงค์
ของทุกเส้นทางให้เป็นอุปกรณ์ Fiber Optic และเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อเป็น 1 Gbps ทั้งหมด
ปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 มิติการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เริ่มเข้าสู่การเป็น e-University นั้นมีแผนงานที่จะดำเนินการ
ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สมบูรณ์แบบ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนามิติต่าง ๆ
ที่เป็นองค์ประกอบของการก้าวสู่การเป็น e-University 5 มิติดังนี้
⚫ มิติของ e-Academic ประกอบด้วย การพัฒนา e-Library, e-Courseware, e-Classroom
⚫ มิติของ e-MIS ประกอบด้วย การทำให้มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารงานบนพื้นฐานข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์
⚫ มิติของ e-Service มุ่งเป็นการบริการแบบ 24 ชม. และเข้าถึงการบริการแบบ one stop
service
⚫ มิติของ e-Research เพื่อตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยในการเป็น Research University
⚫ มิติของ e-Government เป็นการเชื่อมโยงระบบการบริหารงานร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้ง
ภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนข่าวสารโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งในอดีตการเก็บรวบรวม และการค้นหา องค์ความรู้นั้นมีข้อจำกัดโดยองค์ความรู้นั้นถูกจัดเก็บใน
รูปแบบเอกสาร ซึ่งอาจทำให้องค์ความรู้นั้นเสียหายได้ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการรวบรวมและการใช้งาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จึงได้มีการพัฒนาระบบคลังปัญญา DSpace เพอให้รองรับต่อ
ื่
เทคโนโลยีในปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อตอบสนองการใช้งานบนพื้นฐานคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ซึ่งทำให้การ
คู่มือการติดตั้งระบบคลังปัญญาด้วย DSpace สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.พระนคร