Page 25 - 4-5portraitphoto
P. 25
บทที่ 3
หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติงาน
3.1 หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานการถ่ายภาพในสตูดิโอ
การถ่ายภาพในสตูดิโอนั้น เป็นการถ่ายภาพที่ครอบคลุมในหลายรูปแบบ เช่น การถ่ายภาพบุคคล
การถ่ายภาพหุ่นนิ่ง วัตถุสิ่งของต่างๆ เพื่อนำภาพถ่ายมาใช้ในการประกอบโฆษณา การศึกษา และ
การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประเภทต่างๆ ซึ่งสิ่งสำคัญในการถ่ายภาพสตูดิโอ คือเรื่องของแสง ได้แก่ ทิศทาง
ของแสง ลักษณะของแสง รูปแบบการจัดแสง การจัดวางตำแหน่งไฟ และบทบาทหน้าที่ของไฟแฟลช
สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องเรียนรู้ภายใต้หลักเกณฑ์และทฤษฏีต่างๆ ตลอดจนยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เข้ามา
เกี่ยวข้องสำหรับการปฏิบัติงาน เช่น อุปกรณ์ประเภทเครื่องกำเนิดแสง ได้แก่ ไฟแฟลช ไฟต่อเนื่อง ฉาก
ิ
คอมพวเตอร์ และโปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพ
สำหรับการผลิตสื่อภาพถ่าย การถ่ายภาพในสตูดิโอถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ
สนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์และ
สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน ตลอดจนภาพโครงการ กิจกรรมต่างๆ ของบุคลากรและนักศึกษา
ซึ่งภาพถ่ายถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ดังกล่าว ให้รู้จักบุคคล
ั
หน่วยงาน ด้วยวิธีการนำเสนอภาพถ่ายผ่านสื่อประเภทต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร แผ่นพบ
โบรชัวร์ คัทเอาท์ บอร์ด ฯลฯ สื่อเทคโนโลยี เช่น สื่อวีดิทัศน์การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม วีดิทัศน์
วันสถาปนามหาวิทยาลัย วีดิทัศน์ Presentation มหาวิทยาลัย ฯลฯ และสื่อดิจิทัล เช่น Facebook, Line
Social Media ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งผู้จัดทำได้ยึดหลักเกณฑ์และทฤษฏีมาเป็นแนวทางในวิธีการปฏิบัติงานที่
เกี่ยวข้องดังนี้
3.1.1 แนวคิดหรือหลักการถ่ายภาพในสตูดิโอ
3.1.2 หลักการถ่ายภาพ
3.1.3 แสงกับการถ่ายภาพบุคคล
3.1.1 แนวคิดหรือหลักการถ่ายภาพในสตูดิโอ
การถ่ายภาพบุคคลในห้องสตูดิโอขึ้นอยู่กับความคิดและศิลปะของนักถ่ายภาพแต่ละคน
็
อาจจัดแสงด้วยไฟเพยงดวงเดียวหรือหลายดวงกได้ สิ่งสำคัญในการจัดแสงก็คือการเลียนแบบแสงหลักที่มีอยู่
ี
ในธรรมชาติ โดยจัดให้มีมิติของภาพและตัวแบบสวยงามตามความคิดของนักถ่ายภาพ การจัดแสงในห้อง
สตูดิโอ มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ คือ
1.) ตัดสินใจว่าต้องการให้เกิดผลอย่างไรต่อตัวแบบ แสงจะแสดงบุคลิกลักษณะของตัวแบบ
ออกมาได้ตามที่ผู้ถ่ายต้องการ เช่น แสง-เงาบนใบหน้า อัตราส่วนของแสงที่ต้องการ การจัดวางท่าทางฉาก
หลังและส่วนประกอบอื่นๆ เป็นต้น ควรตัดสินใจไว้ก่อนว่าต้องการแบบใด จึงเริ่มจัดแสง และจะดียิ่งขึ้น
ถ้าหากสามารถร่างภาพไว้ดูก่อนที่จะถ่าย
2.) วางไฟหลัก เพื่อดูแสงสว่าง (Highlight) บนใบหน้าและแสงส่วนเงา (Shadow) ที่เกิดขึ้น
ตามมา ควรทดลองเปลี่ยนที่ตั้งของดวงไฟหลาย ๆ ตำแหน่งเพื่อดูทิศทางของแสงและควบคุมความเข้มของ
แสงให้ได้ตามต้องการ ถ้าหากเป็นไฟแฟลชสตูดิโอสามารถปรับความสว่างของดวงไฟที่ปุ่มควบคุมด้านหลัง
ของหัวแฟลช หรือที่ตัวควบคุม Power Pack ซึ่งมีที่ปรับความสว่างแยกต่างหากจากตัวแฟลช นอกจากนี้
ควรพิจารณาว่าต้องการความเข้มของแสงแบบใดสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ควบคุมแสงได้