Page 26 - 4-5portraitphoto
P. 26

17



                             3.) วางไฟเสริม ไฟเสริมจะวางในตำแหน่งคนละด้านกับไฟหลัก ทำหน้าที่ลบเงาหรือเพิ่มแสงสว่าง
                   เงามืด ระวังอย่าให้เกิดเงาซ้อนกันบนใบหน้าของตัวแบบ ปกติไฟเสริมนิยมใช้แสงนุ่มมากกว่าแสงตรง จึงมัก
                   ใช้แสงสะท้อนจากร่มหรือใช้กล่องทอนแสง (Soft box) สวมเข้าด้านหน้าแฟลช นักถ่ายภาพบางคนอาจใช้

                   เพียงโฟม หรือกระดาษขาวหันรับแสงจากไฟหลักสะท้อนเข้าไปเปิดเงา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้
                   ถ่ายว่าจะให้แสงสว่างมีความสว่างเพียงใด ตำแหน่งที่วางไฟเสริมควรพิจารณาตามความเหมาะสม
                   โดยสังเกตดูผลของแสงผ่านทางช่องมองภาพในตัวกล้อง
                             4.) วางไฟส่องผมและไฟส่องฉากหลัง ขั้นตอนนี้จะช่วยแยกวัตถุออกจากฉากหลังได้ดี

                   การพิจารณาวางไฟส่องผมควรปิดไฟหลักและไฟเสริมไว้ก่อน และเปิดไฟส่องผมดูว่าได้ผลตามที่ต้องการ
                   หรือไม่ ตำแหน่งไฟส่องผมควรอยู่ตรงข้ามกับไฟหลัก ระวังอย่าให้ไฟส่องผมตกลงบริเวณใบหน้า ส่วนไฟส่อง
                   ฉากหลังนั้น ก็ดูตามความเหมาะสมของเครื่องแต่งกายของตัวแบบ
                             5.) ปรับไฟครั้งสุดท้าย เปิดไฟพร้อมกันทุกๆ ดวง แล้วดูในช่องมองภาพพิจารณาดูว่ามี

                   ส่วนของแสงสว่างที่ไม่ต้องการหรือไม่ ถ้ามีต้องขจัดแสงส่วนนั้นออกไป ปรับไฟครั้งสุดท้ายโดยใช้อุปกรณ์
                   บังคับทิศทางแสงหรือปรับเลื่อนตำแหน่งดวงไฟ
                             6.) วัดแสงเฉลี่ย โดยวางเครื่องวัดแสงบริเวณใบหน้าของตัวแบบ หันเซลล์รับแสงของเครื่องวัดแสง

                   เข้าหาตัวกล้อง แล้วอ่านค่าของแสงเฉลี่ยที่ได้นำไปตั้งค่าการฉายแสงที่กล้องถ่ายรูป

                        3.1.2 หลักการถ่ายภาพ
                             การดำเนินการถ่ายภาพในสตูดิโอ ผู้ถ่ายภาพจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ
                   ถ่ายภาพ ความรู้พื้นฐานในการปรับส่วนต่างๆ ของกล้องถ่ายภาพ เพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ โดยยึด

                   หลักการถ่ายภาพ ดังนี้
                             1.) รูรับแสง (Aperture)  คือ ช่องเปิดซึ่งได้รับการควบคุมขนาดไว้ด้วยกลไกภาพในกล้อง
                   ถ่ายภาพ เพื่อการควบคุมปริมาณแสงที่จะผ่านเข้าสู่ตัวกล้อง ซึ่งการควบคุมขนาดรูรับแสง สามารถควบคุม

                   ขนาดของรูรับแสงได้เรียกว่า ค่าเอฟ/สตอป (F/Stop) หรือเอฟนัมเบอร์ (F number)  โดยการปรับรูรับ
                   แสงให้กว้างหรือแคบนั้นจะมีผลกับปริมาณแสง เพื่อให้แสงเข้าไปในกล้องถ่ายภาพได้ค่าแสงพอดี โดยที่ค่า
                   ของรูรับแสงจะกำหนดเป็นตัวเลข เช่น F1.4 F4 F5.6 F8 F11 F16 เมื่อตัวเลขมากส่งผลให้รูรับแสงแคบลง
                   ทำให้ปริมาณแสงเข้าสู่ตัวกล้องได้น้อย และเมื่อตัวเลขน้อยรูรับแสงจะขยายกว้างขึ้น ทำให้ปริมาณแสงเข้าสู่

                   ตัวกล้องได้มาก











                                                  ภาพที่ 3-1 การปรับค่ารูรับแสง

                                         ภาพจาก https://www.photoschoolthailand.com
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31