Page 12 - petitionserve
P. 12
6
บทที่ 2
โครงสร้างและหน้าที่ความรับผิดชอบ
2.1 โครงสร้างการบริหารจัดการ
2.1.1 ประวัติความเป็นมา
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีรากฐานมา
จากการจัดการศึกษาในแผนกวิชาการโฆษณาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2515 ที่วิทยาเขตพณิชยการพระนคร (เดิม) โดยได้ผลิตบุคลากรนักปฏิบัติการเข้าสู่วิชาชีพ
สื่อสารมวลชน ในสาขาต่าง ๆ จนมาถึงปี พ.ศ. 2546 เพื่อตอบสนองต่อความตองการของสังคม จึงได้
้
ขยายการจัดการการศึกษาจากระดับ ปวส. เป็นระดับปริญญาตรี ภายใต้ชื่อ “คณะเทคโนโลยี
สื่อสารมวลชน” มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2560 สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน แบ่งเป็น 4 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกเทคโนโลยีการโฆษณา
และประชาสัมพันธ์ วิชาเอกเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง วิชาเอกเทคโนโลยีมัลตมีเดีย
ิ
และวิชาเอกครีเอทีฟมีเดียเทคโนโลยี โดยมุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการด้านสื่อสารมวลชนที่มีจุดเน้นคือ
มีความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี จากรากฐานที่เข้มแข็ง และมีความเป็นมายาวนานประกอบกับคณาจารย์
มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ และมีความช านาญในการสอน จึงท าให้บัณฑิตจากคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
เป็นที่ยอมรับในวงการสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
วิสัยทัศน์ : ผลิตนักสื่อสารมวลชนมืออาชีพ
ปรัชญา : ผลิตบัณฑิตสื่อสารมวลชน เพื่อพัฒนาสังคม
ปณิธาน : มุ่งมั่นเป็นผู้น าการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชน ด้วยเทคโนโลยี
เชิงบูรณาการ พัฒนานักปฏิบัติการสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพ คู่คุณธรรม
2.1.2 นโยบายการบริหารจัดการคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
1) ด้านการจัดการศึกษา เป็นแหล่งการศึกษาด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชนเชิงบูรณาการที่
มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF : HED) และให้สอดรับ
กับการศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่เป็นสากล เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยก าหนดเป้าหมายในการผลิต
นักสื่อสารมวลชนที่มีความรู้ มีทักษะในอาชีพอย่างมืออาชีพ รวมทั้งต้องสามารถใช้เทคโนโลยีได้ และ
เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และตระหนักถึงจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
2) ด้านการวิจัย ผลิตงานวิจัยประยุกต์โดยเป็นการวิจัยในวิชาชีพสื่อสารมวลชน และ
เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสังคมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ผลักดันให้อาจารย์ในคณะฯ
ท าวิจัยโดยเน้นการหาทุนวิจัยจากแหล่งภายนอก รวมทั้งต้องน าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ทั้งในการเรียนการสอน และเพื่อสังคม