Page 51 - 7-2emeeting
P. 51

42







                                          3.2.3.5 วิธีการจดรายงานการประชุม
                                                ขณะที่มีการประชุม เลขานุการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องมีหน้าที่

                       จดบันทึกรายละเอียดของการประชุม ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
                       หรือความต้องการของที่ประชุมว่าต้องการรายละเอียดของข้อมูลมากน้อยเพียงใด การบันทึก

                       การประชุมสามารถทำได้ 3 วิธี (ประวีณ  ณ  นคร 2542 : 112 – 114)

                                                                                                        ู
                                               1) จดละเอียดทุกคำพูด พร้อมด้วยมติที่ประชุม เป็นการจดทุกคำพด
                       ของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนโดยจดว่าใครพูดอย่างไรคำต่อคำตามคำพูด และถ้ามีการแสดงกิริยาหรือ

                       การกระทำอย่างใดแทนคำพูดก็จดแจ้งกิริยาหรือการกระทำนั้นไว้ในวงเล็บด้วย เช่น จดว่า
                       (ที่ประชุมปรบมือ) หรือ (แสดงแผนผังประกอบคำอธิบาย) และจดมติที่ประชุมด้วย การจดรายงาน

                       การประชุมวิธีนี้ นิยมใช้ในการประชุมสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือสภาท้องถิ่น เป็นต้น

                                               2) การจดย่อเรื่องที่พิจารณา และย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญอันนำไปสู่
                       มติของที่ประชุมพร้อมด้วยมติของที่ประชุม เป็นการจดว่าที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องใด โดยมีประเด็น

                       ที่พิจารณาอย่างไร มีผู้อภิปรายในประเด็นสำคัญอย่างไรบ้าง โดยจดย่อคำพูดเอาแต่ใจความ (ไม่จด

                       ทุกคำตามคำพูด) และจดมติที่ประชุมด้วย การจดรายงานการประชุมวิธีนี้ นิยมใช้ในการประชุม
                                                                                                        ู
                       สโมสร สมาคม บริษัท และการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ต้องการหลักฐานยืนยันว่าใครเป็นผู้พด
                       และคำพูดนั้นมีความสำคัญต่อการประชุมหรือต่อการตัดสินใจของที่ประชุมด้วย
                                               3) การจดสรุปสาระสำคัญของเรื่องที่พิจารณา ความเห็น เหตุผลในการ

                       พิจารณาของที่ประชุม และมติของที่ประชุม เป็นการจดว่าที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องใด ซึ่งมี

                       สาระสำคัญอย่างไร ที่ประชุมมีความเห็นหรือเหตุผลในการพิจารณาอย่างไร และมีมติอย่างไร ทั้งนี้
                       โดยจดเป็นความเห็นหรือเหตุผลของที่ประชุมเป็นส่วนรวม หรือเป็นฝ่าย ๆ โดยไม่ระบุว่าใครพูดว่า

                       อย่างไร   การจดรายงานการประชุมนี้ นิยมใช้ในการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ของทางราชการ
                       ซึ่งประชุมกันเป็นประจำ มีเรื่องต้องพิจารณามาก และไม่ต้องการหลักฐานยืนยันว่าใครพูดว่าอย่างไร

                       การจดรายงานการประชุมนี้ นิยมใช้ในการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ของทางราชการ

                                                การจดรายงานการประชุมแบบจดละเอียดทุกคำพูด จะต้องใช้วิธีจดด้วย
                       มือ หรือใช้เครื่องบันทึกเสียงคำพูดของทุกคนในที่ประชุมไว้ แล้วนำมาแปลหรือถอดออกเป็นหนังสือ

                       และเขียนเป็นรายงานการประชุมอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะไม่สามารถจดเป็นหนังสือได้ทันตามคำพด
                                                                                                        ู
                       ของผู้เข้าประชุม แต่ถึงแม้จะจดด้วยมือ หรือบันทึกเสียงไว้ ก็ยังไม่แน่ว่าจะได้ความชัดเจนทั้งหมด
                                                                                                        ู
                       เพราะบางตอนเครื่องบันทึกเสียงอาจเสีย  หรือบางตอนผู้พูดบางคนอาจไม่ได้บอกชื่อตนเองก่อนพด
                       ฉะนั้น จึงต้องมีผู้จดเป็นหนังสือธรรมดาร่วมอยู่ด้วย เพื่อจดชื่อผู้พูด และจดสาระสำคัญในการพูดไว้

                       สอบ และเครื่องบันทึกเสียงอีกส่วนหนึ่ง
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56