Page 48 - 7-2emeeting
P. 48
39
ระเบียบวาระการประชุม คือ เป็นเอกสารที่มีความสำคัญ ที่จะนำเสนอเรื่องที่มี
ความสำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละโอกาสได้ทราบถึงประเด็นที่สำคัญ ซึ่งจะนำมา
อภิปรายในการประชุมครั้งนั้น ๆ นอกจากนี้แล้ว ระเบียบวาระการประชุม ยังช่วยให้ผู้ที่เข้าประชุม
สามารถเตรียมตัวในส่วนของเนื้อหา หัวข้อ คำถาม คำตอบ และข้อมูลสนับสนุนที่มีความเกี่ยวข้อง
ในแต่ละครั้งของการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย จำเป็นต้องมีการจัดทำระเบียบวาระ
การประชุมเพื่อให้ทราบถึงเรื่องที่จะต้องพิจารณา
รูปแบบของระเบียบวาระการประชุม
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อ 1.9 อธิบายว่า
ข้อความให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องที่ประชุม
กับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่องประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ วาระนี้เป็นวาระที่ประธาน
จะเป็นผู้แจ้ง อาจจะมีเรื่องด่วนที่จะแจ้งให้ทราบ หรือมีการแนะนำสมาชิกใหม่ หรือบุคลากรได้รับ
รางวัล เป็นต้น ซึ่งประธานจะต้องเตรียมไว้ สำหรับแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว โดยแจกไปให้อ่าน
ล่วงหน้า ประธานต้องเตรียมรายงานการประชุม และจะต้องระบุว่าเป็นรายงานการประชุมครั้งที่
เท่าไร พร้อมทั้งบอกวัน เดือน ปี การรับรองรายงานการประชุมนั้น เลขานุการเป็นผู้ส่งรายงานการ
ประชุมให้ผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อรับรองรายงานการประชุมไว้ล่วงหน้าแล้ว หากกรรมการหรือสมาชิก
ตรวจรายงานการประชุม ว่ามีสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องผู้เข้าร่วมประชุมสามารถทักท้วงหรือแก้ไข ไม่ใช่นำมา
อภิปรายใหม่
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา วาระนี้จะเป็นเรื่อง
่
ที่ประชุมได้มอบหมายให้ดําเนินการ หรือให้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือเคยพิจารณามากอนแล้ว แต่ที่
ประชุมยังมิได้ข้อยุติซึ่งจะต้องรายงานความคืบหน้าให้ที่ ประชุมทราบ ประเด็นเสนอวาระจะเสนอได้
ใน 2 ประเด็นคือ เพื่อทราบ หรือเพื่อพิจารณา กรณีที่การพิจารณานั้นยังมิได้ข้อยุติ
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา วาระเพื่อพิจารณา เป็นเรื่องที่ต้องการ
ํ
ให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่อนําไปเป็นนโยบายและแนวทางในการ ปฏิบัติงานหรือเป็นไปตามอานาจหรือ
หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนั้น ๆ การจัดทําเอกสาร ประกอบวาระนี้ฝ่ายเลขานุการหรือหน่วยงาน
เจ้าของเรื่องผู้เสนอวาระ จะต้องศึกษาเรื่องราว ให้ละเอียดและสรุปความเป็นมาของเรื่องให้ชัดเจน
และครอบคลุม เพื่อเป็นพื้นฐานในการ พิจารณาที่ถูกต้อง