Page 52 - 7-2emeeting
P. 52

43







                                                 ส่วนการจดรายงานการประชุมแบบจดย่อเรื่องและย่อคำพูด และแบบ
                       จดสรุปสาระสำคัญความเห็น และเหตุผลในการพิจารณา ผู้จดอาจจดเป็นหนังสือโดยสรุปความเท่าที่

                       จับใจความได้จากที่ประชุมก็ได้ โดยผู้จดจะต้องมีความสามารถพิเศษในการจับใจความ จึงจะจดได้
                       ถูกต้อง ครบถ้วนและทันการ หากผู้จดไม่มั่นใจว่าจะจดได้ถูกต้องครบถ้วนและทันการ ก็อาจใช้เครื่อง

                       บันทึกเสียงช่วยอีกส่วนหนึ่งก็ได้


                                          3.2.3.6 การจัดทำรายงานการประชุม

                                                รายงานการประชุม ตามพจนานุกรมยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า
                       รายละเอียดหรือสาระของการประชุมที่จดไว้อย่างเป็นทางการ

                                                ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อ 25

                       ให้ความหมายของคำว่า “รายงานการประชุม” ไว้ว่า การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุมผู้เข้าร่วม
                       ประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น เมื่อมีการประชุม จึงเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายเลขานุการ

                       ที่จะต้องรับผิดชอบในการจดบันทึกและการจัดทำรายงานการประชุม โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                               1. รายงานการประชุม  ให้ลงชื่อคณะกรรมการที่ประชุม หรือการประชุม

                       ของคณะนั้น

                                               2. ครั้งที่  ให้ลงครั้งที่ประชุมเป็นรายปี โดยเริ่มจาก 1 เรียงเป็นลำดับไปจน
                       สิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ประชุม เมื่อขึ้นปีปฏิทินใหม่ให้เริ่มครั้งที่ 1 ใหม่ เรียงไปตามลำดับ

                       เช่น ครั้งที่ 1/2560  หรือจะลงจำนวนครั้งที่ประชุมทั้งหมดของคณะที่ประชุม หรือการประชุมนั้น ๆ

                                               3. เมื่อ  ให้ลงวัน เดือน ปีที่ประชุม โดยลงวันที่พร้อมกับตัวเลขของวันที่
                       ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราช เช่น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2561

                                               4. ณ  ให้ลงชื่อสถานที่ที่ใช้ในการประชุม
                                               5. ผู้มาประชุม  ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็น

                       คณะกรรมการที่มาเข้าร่วมประชุม ในกรณีที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนหน่วยงาน ให้ระบุว่าเป็น

                       ผู้แทนจากหน่วยงานใด  และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด หรือแทนผู้แทนหน่วยงานใด

                                              6. ผู้ไม่มาประชุม   ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่ไม่ได้มาประชุม
                       พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมครั้งนั้น ๆ ได้
                                              7. ผู้เข้าร่วมประชุม  ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่มาประชุม และ

                       หน่วยงานในสังกัด

                                                 8. เริ่มประชุมเวลา  ให้ลงเวลาที่เริ่มการประชุม
                                              9. ข้อความ  ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มด้วยประธานกล่าว

                       เปิดประชุมและเรื่องที่ประชุม กับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่องประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

                                                  -  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57