Page 186 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 186
180
สืบหล้า, 2548) เมื่อเวลาผ่านไปภาพถ่ายเหล่านี้อาจกลายเป็นภาพที่มีคุณค่า จากการบันทึกเรื่องราวชีวิตของ
ผู้คน เหตุการณ์ส าคัญ บรรยากาศ ตลอดจนลักษณะสังคมวัฒนธรรมในยุคนั้น ท าให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ความ
เป็นมาในอดีตได้อย่างชัดเจนและแม่นย า อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเก่าแก่ของสถานที่นั้นๆ เสมือนเป็นการใช้
ภาพถ่ายในการเล่าเรื่องราวได้เป็นอย่างดี (เอนก นาวิกมูล, 2548 ; วิวัฒน์ เตมีย์พันธ์, 2553) ในหลายๆ
กิจกรรมส าคัญจึงมีการบันทึกภาพเก็บไว้เพื่อเป็นความทรงจ าหรือเป็นหลักฐานเพื่อใช้อ้างอิงสิ่งที่เกิดขึ้น
ชุมชนจ านวนมากในประเทศไทย เป็นชุมชนเก่าที่มีประวัติศาสตร์และมีคุณค่า แต่ในปัจจุบัน พบว่า
ชุมชนเหล่านี้สูญเสียเอกลักษณ์ไปตามกาลเวลาและการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย โดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่
ริมน้ าในอดีต ซึ่งใช้เส้นทางแม่น้ าในการสัญจร ภายหลังเมื่อมีการตัดถนนเข้าสู่พื้นที่ ท าให้เส้นทางน้ าหมด
ความส าคัญลงพร้อมๆ กับชุมชนริมน้ าที่ซบเซาลงเช่นกัน (Kritaporn Haocharoen, Wannasilpa
Peerapun and Khaisri Paksukcharern, 2011) การบันทึกประวัติศาสตร์ของชุมชนด้วยภาพถ่ายจึงเป็น
วิธีการที่ช่วยให้คนรุ่นหลังได้เห็นสภาพแวดล้อม ชีวิตสังคมของผู้คนในยุคนั้น ก่อนที่ทุกๆ อย่างจะเลือนหายไป
ตามกาลเวลาเช่นเดียวกับชุมชนริมน้ าหลายๆ ชุมชน
ชุมชนตลาดน้ าหลักห้า ริมคลองด าเนินสะดวก ในต าบลประสาทสิทธิ์ อ าเภอด าเนินสะดวก จังหวัด
ราชบุรี เป็นชุมชนหนึ่งที่ในอดีต เคยเจริญรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางการค้าที่ส าคัญและเป็นย่านพักอาศัยที่
มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในการพึ่งพาอาศัยอยู่กับน้ ามายาวนาน โดยใช้การสัญจรและการขนส่งสินค้าทางน้ า
ภายหลังจากที่ความเจริญต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ โดยเฉพาะการตัดถนน ท าให้ผู้คนหันไปใช้การสัญจรทางบก
และคนรุ่นใหม่ก็นิยมเข้าไปท างานโรงงานกันมากขึ้น ชุมชนริมน้ าดั้งเดิมแห่งนี้จึงซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งยัง
รวมไปถึงชุมชนริมน้ าอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
จึงเป็นที่มาของโครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่าขึ้น ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้ง
กรรมาธิการสถาปนิกเพื่อสังคมและเมือง สมาคมสถาปนิกสยามฯ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) มูลนิธิ
ส านักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูตลาดน้ าหลักห้า รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและ
เอกชนในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ได้สนับสนุนให้มีโครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่าขึ้น ในรูปแบบกิจกรรม
เชิงปฏิบัติการ (workshop) ชื่อว่า “Workshop Living with Khlong” ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาเข้าร่วม
กิจกรรมดังกล่าวร่วมกับชุมชนตลาดน้ าหลักห้า โดยเริ่มต้นจากการกระตุ้นจิตส านึกรักบ้านเกิด เพื่อให้ผู้คนหัน
กลับมาดูแลและเห็นคุณค่าในพื้นที่ชุมชนและบ้านเรือนของตนเองผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างมีส่วนร่วม ซึ่งหนึ่ง
ในกิจกรรมที่จัดท าขึ้น คือ “การถ่ายภาพพร้อมบันทึกค าบอกเล่าสั้นๆ เกี่ยวกับชุมชน โดยคนในชุมชน” แล้ว
เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ต่างๆ อันเป็นวิธีการเลือกใช้เครื่องมือซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คนในชุมชนและคนทั่วไป
สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายในปัจจุบัน และเป็นการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM tools)
ประเภท การเล่าเรื่อง (Story Telling) ในการท ากิจกรรม
วิธีการด าเนินงาน
โครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่า “Workshop Living with Khlong” จัดขึ้น ณ ชุมชนตลาดน้ า
หลักห้า ริมคลองด าเนินสะดวก ต าบลประสาทสิทธ์ อ าเภอด าเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ระหว่างวันที่ 28-31
กรกฎาคม 2559 โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับชุมชนตลาดน้ าหลักห้า หนึ่งในกิจกรรมที่
ทีมนักศึกษาได้จัดท าขึ้น คือ “การถ่ายภาพ บันทึกค าบอกเล่าสั้นๆ ของคนในชุมชน-เผยแพร่ในสื่อออนไลน์”
ซึ่งการเล่าเรื่อง (Story Telling) โดยคนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในชุมชน นับเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้เครื่องมือ
จัดการความรู้ (KM Tools) ที่ช่วยให้เข้าใจ เข้าถึงข้อมูลในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยเฉพาะช่วงเวลา