Page 187 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 187
181
ประวัติศาสตร์ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาส าคัญที่ไม่อาจย้อนเวลากลับไปได้ หากไม่ถูกบอกเล่าออกมาโดยคนเก่าแก่
ในพื้นที่เอง แล้วใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องท าการบันทึกข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการกระตุ้นจิตส านึกรักบ้าน
เกิด เพื่อให้ผู้คนหันกลับมาดูแลและเห็นคุณค่าชุมชน บ้านเรือนของตน นับเป็นกระบวนการฟื้นฟูชุมชน
แนวทางหนึ่งซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ดี มีการท างาน 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมความพร้อมก่อนการลงพื้นที่ท ากิจกรรม
1. ส ารวจพื้นที่เบื้องต้น เพื่อวางแผนเลือกพื้นที่ในบริเวณชุมชน
2. ก าหนดตารางกิจกรรมและวันเวลาอย่างชัดเจน โดยตั้งเป้าหมายในการเก็บบันทึกข้อมูลในแต่ละ
วัน ก าหนดประเด็นที่จะเก็บข้อมูลและรูปแบบการเก็บข้อมูล
3. ประชุมชี้แจงรายละเอียดกับทางชุมชน เพื่อขอความร่วมมือในการท ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์
ให้ทราบโดยทั่วถึงกัน
4. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือส าคัญที่ใช้ในการท ากิจกรรม ได้แก่
4.1 สมุดจดบันทึกข้อมูล
4.2 อุปกรณ์บันทึกภาพและเสียง ได้แก่ กล้องถ่ายภาพ/ โทรศัพท์มือถือส าหรับบันทึกภาพ
และเสียง/ เครื่องบันทึกเสียง
4.3 คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก/ โปรแกรมส าหรับตัดต่อและแต่งภาพ
ภาพที่ 1 การเตรียมความพร้อมก่อนการลงพื้นที่ท ากิจกรรม
ขั้นตอนที่ 2 : การท ากิจกรรมในพื้นที่
1. ลงพื้นที่ท ากิจกรรม โดยเก็บข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ในรูปแบบการพูดคุยกับคนใน
ชุมชนและใช้เครื่องมือในการบันทึกข้อมูลร่วมกัน ได้แก่ สมุดจดบันทึกและอุปกรณ์
บันทึกภาพและเสียง เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่วางแผนไว้