Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the shortcodes-ultimate domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/webkm/public_html/iknowledge/wp-includes/functions.php on line 6121

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the essential-addons-for-elementor-lite domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/webkm/public_html/iknowledge/wp-includes/functions.php on line 6121
บทความ KM – บ่อสวก-บ้านน้ำเกี๋ยน-บ้านเก็ต : บทเรียนการท่องเที่ยวชุมชน จ.น่าน – iKnowledge
ความรู้ทั่วไป/บทความ
บทความ KM – บ่อสวก-บ้านน้ำเกี๋ยน-บ้านเก็ต : บทเรียนการท่องเที่ยวชุมชน จ.น่าน

บทความ KM – บ่อสวก-บ้านน้ำเกี๋ยน-บ้านเก็ต : บทเรียนการท่องเที่ยวชุมชน จ.น่าน

บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถการ สัตยพาณิชย์

ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561  ผมได้ไปเป็นกรรมการตัดสินการประกวดชุมชนท่องเที่ยวเมืองรองของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดย ททท. ได้คัดเลือกชุมชนเกรด A ทั่วประเทศ 10 ชุมชน มาประชันความพร้อมในด้านการจัดการท่องเที่ยว และในระหว่างการลงพื้นที่ก็มีการถ่ายทำสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน นำมาออกอากาศในรายการชุมชนชวนเที่ยว ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ควบคู่กันไปด้วย

ทริปที่ผมได้ไปเยี่ยมชมเป็น 3 ชุมชนในจังหวัดน่าน ประกอบด้วย ชุมชนบ่อสวก อยู่ที่ อ.เมืองน่าน ชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง ส่วนอีกชุมชนหนึ่งอยู่ที่อำเภอปัวคือ ชุมชนบ้านเก็ต ทั้ง 3 ชุมชนเรียกว่ามีจุดขายเป็นของตัวเอง และสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาในการสร้างแบรนด์การท่องเที่ยวชุมชนและผลิตภัณฑ์ OTOP ได้

ในการสร้างแบรนด์ชุมชนเพื่อให้มีผลกับการท่องเที่ยวและสินค้า OTOP นั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การเริ่มต้นค้นหาเสน่ห์ของชุมชน ว่าชุมชนมีอะไรดี ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงทุนความรู้ ทุนประวัติศาสตร์ หรือทุนวัฒนธรรมของชุมชน

อย่างเช่น บ้านน้ำเกี๋ยน ชุมชนที่มีชื่อเสียงจากการมีทุนความรู้ด้านสมุนไพร จนในวันนี้สามารถแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรมเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรรูปแบบต่างๆ และได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP มีสินค้าที่ได้ OTOP 5 ดาวถึง 5 ผลิตภัณฑ์

ส่วน บ่อสวก เป็นแหล่งเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาโบราณ เป็นทุนประวัติศาสตร์ที่ชุมชนนำมาต่อยอดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และนำมาทำเป็นกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ปั้นเครื่องปั้นดินเผา ขณะที่บ้านเก็ตมีจุดขายเป็นแหล่งผ้าทอที่สืบสานทุนวัฒนธรรมของชาวไทยลื้อ

ที่มา: รายการชุมชนชวนเที่ยว

เมื่อชุมชนค้นพบเสน่ห์ของตนเองแล้ว ก็ต้องนำเสน่ห์ที่มีมาสร้างเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ และนำมาพัฒนาให้มีความโดดเด่นจนกลุ่มเป้าหมายจดจำได้ ซึ่งการสร้างจุดขายเพื่อนำมาสร้างแบรนด์ชุมชนก็ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะบางแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นจากการโปรโมทผ่านตัวบุคคล เช่น ปราชญ์ชุมชนที่มีฝีมือด้านศิลปหัตถกรรม หรือมีความสามารถในด้านต่างๆ

อย่างในกรณีของ บ้านเก็ต ชื่อเสียงของชุมชนส่วนหนึ่งเกิดจากฝีมือผ้าทอไทลื้อของป้าหลอม (นางศดานันท์ เนตรทิพย์) ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีความสามารถในการทอผ้า ป้าหลอมจึงเป็นจุดดึงดูดใจอย่างหนึ่งให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปหาซื้อผ้าทอที่บ้านเก็ต และเมื่อได้ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตในชุมชน ได้เห็นท้องไร่ท้องนาที่เขียวขจี มีศิลปวัฒนธรรมไทลื้อที่โดดเด่น รวมทั้งมีโฮมสเตย์ที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ก็ทำให้แบรนด์ชุมชนบ้านเก็ตเริ่มมีการพูดถึงกันในฐานะชุมชนท่องเที่ยวแบบ Slow Life ที่แวดล้อมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ชุมชนก็ต้องมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างเช่น ชุมชนบ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ก็มีการคิดค้นสูตรข้าวผัดที่ใช้พืชสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบ แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็ทำให้นักท่องเที่ยวตื่นตาตื่นใจกับความแปลกใหม่ของเมนูอาหารที่เกิดขึ้น และในขณะเดียวกันก็ทำให้พี่น้องเกษตรกรที่ปลูกข่า ปลูกตะไคร้ในชุมชนสามารถมีตลาดรองรับ

กล่าวได้ว่ายุคนี้สมัยนี้ชุมชนจะขายแค่สินค้า OTOP อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องใช้การท่องเที่ยวชุมชนมาเป็นหัวรถจักรในการดึงคนให้ไปใช้ชีวิตในชุมชนนานขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสไปพักค้างในโฮมสเตย์ และก่อนกลับก็ซื้อสินค้า OTOP กลับไปฝากคนที่บ้านหรือที่ทำงาน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นหลักคิดเดียวกับโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของกรมการพัฒนาชุมชน ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดเป็นรูปธรรม และหากทำได้ก็จะทำให้เศรษฐกิจชุมชนมีการขับเคลื่อนได้มากกว่าการขายสินค้า OTOP เพียงอย่างเดียว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *