Page 114 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 114

108


               เศรษฐกิจในระยะยาว ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ
               ประเทศก าลังพัฒนาที่มีการแข่งขันกันดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งปรากฏได้จาก

               ประเทศต่างๆ มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในประเทศ เพื่อให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น ได้แก่ การให้สิทธิ
               ประโยชน์การลงทุน การพัฒนาสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน การเปิดเสรีเศรษฐกิจการค้า การรวมกลุ่ม
               เศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เป็นต้น (อภิรัตน์ จิตต์ช่วย, 2554 : 440)
                       เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเศรษฐกิจ

               ขยายตัวค่อนข้างสูง การเมืองมีเสถียรภาพซึ่งเป็นผลมาจากระบบปกครองสังคมนิยมที่มีพรรคการเมืองเดียว
               ท าให้การก าหนดนโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนต่างชาติสามารถวางแผนการ
               ประกอบธุรกิจในระยะยาวได้อย่างมีความมั่นใจ อีกทั้งยังมีทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบส าหรับภาคการผลิต
               อย่างอุดมสมบูรณ์ สภาพพื้นที่ของเวียดนามเอื้อต่อการเพาะปลูกสินค้าเกษตรที่หลากหลาย อีกทั้งภูมิประเทศ

               สวยงามและมีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นโอกาสส าหรับการลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยว
               อย่างไรก็ตาม ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าใดนัก ท าให้ค่าใช้จ่าย
               ด้านโลจิสติกส์สูง และใช้เวลาในการขนส่งสินค้านาน
                       ส าหรับภาพรวมเศรษฐกิจการค้าของเวียดนาม ตามตารางที่ 1 พบว่า เวียดนามยังคงเผชิญกับการขาด

               ดุลสินค้าและบริการ โดยในปีพ.ศ. 2558  ขาดดุลการค้าและบริการมูลค่า 8,296  ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
               หรือร้อยละ 4.26  ของ GDP  (8,296/194,819)  อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.
               2558  อยู่ที่ร้อยละ 6.68  และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI  Inflow) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง

               ต่อเนื่อง โดยในปี 2557 ถึง 2558 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.26 หรือในปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 6.05 ของ GDP
               (11,800/194,819)  ส่วนการลงทุนโดยตรงของเวียดนามในต่างประเทศ (FDI Outflow) ยังน้อยกว่าการลงทุน
               โดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนามเกือบ 11  เท่า  (เศรษฐกิจแนวโน้ม,  18  พฤศจิกายน 2559,
               http://unctadstat.unctad.org/CountryProfile/GeneralProfile/en-GB/704/index.html)


               ตารางที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนโดยตรงของเวียดนาม
                                                                          หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ.
                                             พ.ศ. 2549     พ.ศ. 2554      พ.ศ. 2557     พ.ศ. 2558

                      ดุลการค้า                -4,319        -12,602        1,124         -3,996
                      ดุลบริการ                 -185         -2,461         -3,530        -4,300
                      GDP, current             57,633       115,932        186,205       194,819

                      GDP per capita            684          1,312          2,015         2,085
                      (เหรียญสหรัฐฯ.)
                      Real GDP growth , %       7.55          6.42          5.98           6.68

                      FDI inflows              1,954          800           9,200         11,800
                      FDI outflows               65           900           1,150         1,100


                       การที่เวียดนามหนึ่งที่ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทาง
               เศรษฐกิจและสังคมในประเทศที่เอื้ออ านวย ท าให้มีจุดแข็งหลายด้านและเป็นโอกาสของนักลงทุนไทย แต่
               ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศคู่แข่งของไทยด้วย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ จึงสนใจศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่

               มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119