Page 116 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 116
110
โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศผู้ลงทุน ซึ่งสะท้อนขนาดตลาดและอ านาจซื้อ
ภายในประเทศ ทั้งนี้เพราะการลงทุนของต่างประเทศเพื่อแสวงหาตลาด (market-seeking) ในต่างประเทศ
ด้วยการขยายตลาดและรักษาส่วนแบ่งการตลาด ผลการศึกษาส่วนใหญ่พบความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับ
การลงทุนโดยตรง กล่าวคือ ถ้าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัชราภรณ์ อัคคีสุวรรณ์
(2548) การศึกษาของภัทรภร เพ็ญกุล (2550) อภิรัตน์ จิตต์ช่วย (2554) ศุภศิว์ สุวรรณเกษร (2556)
ธนญา นันทิวรรธน์ (2556)
ส าหรับตัวแปรอัตราค่าจ้าง อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อ มีความสัมพันธ์ในทิศ
ทางตรงข้ามกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนมีความสัมพันธ์เป็นไปได้ทั้ง
สองทิศทางกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ได้แก่ การศึกษาของ กมลพร มหาชัย (2546) อุเทน ฉายา
สกุลวิวัฒน์ (2546) พัชราภรณ์ อัคคีสุวรรณ (2548) อภิรัตน์ จิตต์ช่วย (2554) ธนญา นันทิวรรธน์ (2556)
นอกจากนี้ก็มีการสะสมทุนถาวรเบื้องต้นในประเทศที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศ ซึ่งปรากฏในการศึกษาของศุภศิว์ สุวรรณเกษร (2556)
ผลและอภิปรายผล
ผลการวิจัยสมการปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนามด้วยวิธี
ก าลังสองน้อยที่สุด (OLS) ปรากฏผล ดังนี้
Log FDI = 42.16 + 1.26 log (GDP) – 5.92 log(EXC) + 1.98 log(INF)
2
Adjusted R = 0.9277
ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศ (EXC) และอัตราเงินเฟ้อ (INF) สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม คือ การ
ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้ร้อยละ 92.77 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มี
ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม (FDI) สอดคล้องกับ
สมมติฐานที่ก าหนดไว้ กล่าวคือ ถ้าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะท าให้
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26
ส าหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (EXC) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้ามกับการ
ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม (FDI) สอดคล้องกับสมมติฐานที่ก าหนดไว้ กล่าวคือ ถ้าอัตรา
แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของประเทศเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะท าให้การลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศในประเทศเวียดนามลดลงร้อยละ 5.92 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ (INF) กับการลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศในประเทศเวียดนามมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ก าหนดไว้ ส่วน
หนึ่งเป็นเพราะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศแม้ว่าจะมีอัตรา
เงินเฟ้อสูงในช่วงที่ผ่านมา
โดยผลการศึกษาทิศทางความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน
สอดคล้องกับสมมติฐานที่ก าหนดไว้ และสอดคล้องกับการศึกษาของ พัชราภรณ์ อัคคีสุวรรณ์ (2548)
การศึกษาของภัทรภร เพ็ญกุล (2550) อภิรัตน์ จิตต์ช่วย (2554) ศุภศิว์ สุวรรณเกษร (2556) ธนญา นันทิ
วรรธน์ (2556) ส่วนอัตราเงินเฟ้อไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ก าหนดไว้