Page 115 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 115
109
วิธีการด าเนินงาน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยการเก็บข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลารายปีตัวแปรการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคของเวียดนามจาก เว็บไซต์ www.UNCTAD.org
รายปีตั้งแต่ พ.ศ. 2543 – 2558 รวม 16 ปี เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรง
จากต่างประเทศในเวียดนาม อีกทั้งยังเก็บข้อมูลจากเอกสารวิชาการและฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อศึกษา
สถานการณ์เศรษฐกิจการลงทุนของเวียดนาม
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงพรรณา (descriptive analysis) เพื่อ ศึกษา
ภาพรวมเศรษฐกิจและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม โดยใช้สถิติ เชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ร้อยละ เป็นต้น และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis) เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค
ที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในเวียดนาม โดยใช้แบบจ าลองเศรษฐมิติประมาณค่าสัมประสิทธิ์
ด้วยแบบจ าลองสมการถดถอยเชิงซ้อน (multiple regression) โดยวิธีก าลังสองน้อยที่สุด (ordinary least
square)
แนวคิดทฤษฎี
การวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศของดันนิง (Dunning)
ซึ่งมีสาระส าคัญสรุปว่า การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศขึ้นอยู่กับความได้เปรียบ 3 ประการ ได้แก่ ความ
ได้เปรียบในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์บางอย่างความได้เปรียบในการท าให้เป็นประโยชน์แก่องค์การด้วยตนเอง
และความได้เปรียบที่เกิดจากแหล่งที่ตั้ง
โดยปัจจัยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศผู้รับทุน ได้แก่ (1) การเป็นแหล่ง
ทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบ เช่น แร่ธาตุ น้ ามัน และก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ทรัพยากรเหล่านี้ยังไม่ได้
น ามาใช้ประโยชน์ เนื่องจากประเทศผู้รับทุนยังขาดแคลนเงินทุน วัตถุดิบและเทคโนโลยี (2) การเป็นแหล่ง
แรงงานที่มีราคาถูก เนื่องจากประเทศผู้รับทุนจะมีจ านวนประชากรมาก ท าให้อัตราค่าจ้างค่อนข้างต่ าเมื่อ
เทียบกับประเทศเจ้าของทุน (3) การเป็นแหล่งตลาด ซึ่งพิจารณาจากจ านวนประชากรและอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ และ (4) นโยบายส่งเสริมการลงทุนของประเทศผู้ลงทุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
ส าหรับในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะปัจจัยหรือตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคเท่านั้นโดยใช้ผลิตภัณฑ์มวล
รวมภายในประเทศ สะท้อนขนาดของตลาดภายในประเทศอัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนเสถียรภาพของค่าเงิน ซึ่ง
ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และอัตราเงินเฟ้อสะท้อนเสถียรภาพภายในประเทศ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีบทบาทความส าคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ
ประเทศก าลังพัฒนา ท าให้มีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ก าหนดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจ านวนมาก
ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการลงทุนโดยตรงและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน
ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัจจัยหรือตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคในประเทศ
ผู้ลงทุนมีบทบาทส าคัญในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ