Page 192 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 192

186












                                   ภาพที่ 10  สื่อต่างๆ เข้ามาถ่ายท ารายการโทรทัศน์ (ช่อง 22 เนชั่นทีวี)
                                       (ที่มา : https://www.facebook.com/memory.stlye แป๊ะ บ้านปูล้อ)


                       นอกจากกิจกรรมนี้จะช่วยให้ค้นพบเอกลักษณ์และศักยภาพของชุมชนแล้ว ยังได้ทราบถึงปัญหาส าคัญ
               ในการฟื้นฟูชุมชนด้วย กล่าวคือ เส้นทางที่เข้าถึงพื้นที่ชุมชนค่อนข้างคับแคบและซับซ้อน เนื่องจากเป็นชุมชนที่
               อยู่ริมน้ าดั้งเดิม เมื่อเริ่มมีการฟื้นฟูชุมชนขึ้นจึงเริ่มมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ซึ่งพบว่า ถนนแคบและไม่มีที่

               จอดรถ รวมทั้งชุมชนอาจยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร  ดังนั้น ประเด็นปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ชุมชนและภาค
               ส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันหารือเพื่อวางแผนต่อยอดกิจกรรมในโอกาสต่อไป โดยมีแผนด าเนินการต่างๆ ที่จะ
               เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คือ การจัดท าสื่อต่างๆ เพื่อใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชุมชน และการจัดท า
               แผนที่ท่องเที่ยวในชุมชน จึงนับว่า การเลือกใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางในการท ากิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีส่วนช่วย

               “กระตุ้น” ให้เกิดการฟื้นฟูชุมชนแห่งนี้ขึ้นได้จริง

               อภิปรายผลการด าเนินงาน
                       การอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเก่าเป็นวิธีการทางด้านผังเมืองที่ช่วยให้บริเวณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
               ได้รับการดูแล คุ้มครอง ปกป้องหรือได้รับการให้ความส าคัญมากกว่าบริเวณอื่นทั่วไป เพื่อไม่ให้พื้นที่หรือ

               บริเวณนั้นๆ ถูกท าลายจนสูญเสียเอกลักษณ์ไปตามกาลเวลา โดยสามารถกระท าได้หลากหลายวิธี ซึ่งวิธีการ
               หนึ่ง คือ การใช้ “กิจกรรมภาพถ่ายแทนใจ” ภายใต้โครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่า ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า
               กิจกรรมนี้ได้ช่วยส่งเสริมให้ผู้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงพลังแห่งความหวงแหนต่อคุณค่าของชุมชน

               มากขึ้น สะท้อนให้เห็นผ่านถ้อยค าและความกระตือรือร้นในการให้ความร่วมมือต่อการท ากิจกรรมเป็นอย่างดี
               สอดคล้องกับที่ชูวิทย์ สุจฉายา (2552 : 8) กล่าวว่า การท าให้ย่านมีชีวิตชีวา (urban revitalization) ได้ช่วย
               ให้ชุมชนหรือเมืองเกิดความเปลี่ยนแปลง ความมีสีสันตื่นตัว ไม่ว่าจะเป็นในด้านสุขอนามัยและด้านกายภาพ
               รวมทั้ง การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน (urban identity) เป็นการท าให้ผู้คน ทั้งคนในเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือน
               ได้รับความรู้สึกว่า เมืองมีความเฉพาะตัวไม่เหมือนเมืองอื่น ท าให้พื้นที่เกิดความเด่นชัด นอกจากนั้น การ

               อนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนต้องไม่สนใจเพียงด้านกายภาพของอาคารบ้านเรือน แต่ต้องมีกระบวนการสร้างส านึก
               รักษ์บ้าน รักษ์ย่าน  รักษ์ท้องถิ่นให้แก่ผู้คนที่อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในท้องถิ่นนั้นด้วย เพื่อให้การอนุรักษ์และ
               ฟื้นฟูชุมชนไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คน (อาภรณ์ จันทรสมวงศ์, 2554) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนจึง

               เป็นสิ่งส าคัญ เพราะการให้ความร่วมมือของผู้คนจะช่วยให้การวางแผน การด าเนินการเกิดขึ้นได้ และเป็นไป
               อย่างสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

               สรุป
                       “กิจกรรมภาพถ่ายแทนใจ” ภายใต้โครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่า “Workshop Living with

               Khlong” จัดขึ้น ณ ชุมชนตลาดน้ าหลักห้า ริมคลองด าเนินสะดวก ต าบลประสาทสิทธ์ อ าเภอด าเนินสะดวก
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197