Page 342 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 342

336


                       2.1 จัดท าแผนการบริการวิชาการ
                       2.2 จัดท าโครงการเสนอของบประมาณ

               3. ค้นหาความรู้จากตัวบุคคลได้แก่ อาจารย์ในสาขาวิศวกรรมโยธา และความรู้จากผลงานวิจัย และจากการ
                  ให้บริการวิชาการแก่สังคม
                       3.1 พบว่า อาจารย์ในสาขาวิศวกรรมโยธามีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านคอนกรีตมวลเบา
                          อาจารย์มีประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษาโรงงานอุตสาหกรรมผลิตและจัดจ าหน่ายผลิตภัณฑ์

                          คอนกรีต อาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงอุตสาหกรรม และมีผลงานวิจัยที่น าไปใช้
                          ประโยชน์แล้ว รวมทั้งองค์ความรู้จากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่ผ่านมาสามารถน าไป
                          ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของชุมชนหนองโสนได้ ซึ่งอาจารย์เหล่านี้เป็นขุมความรู้
                          ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และน าองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหนองโสน

                      3.2 อาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงและมีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมารวมกลุ่มเพื่อเล่าประสบการณ์
                          ตรงและถ่ายทอดความรู้ และสกัดองค์ความรู้ พบว่า องค์ความรู้ที่ต้องน าไปใช้ประโยชน์ คือ ต้อง
                          ปรับปรุงกระบวนการผลิต พัฒนาสัดส่วนผสมใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้ลดต้นทุน เพิ่มผลก าไร ให้กับ
                          สินค้าชุมชนหนองโสนได้อย่างยั่งยืน

                       3.3 ค้นหาองค์ความรู้จากงานวิจัยและงานบริการวิชาการแก่สังคมที่ผ่านมาว่ามีเรื่องใดบ้างที่เกี่ยวข้อง
                          และสามารถน าไปใช้ประโยชน์ พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่องการประยุกต์ใช้คอนกรีตมวลเบา
                          ระบบเติมฟองอากาศในงานผนังหล่อในที่


               4. รวบรวมองค์ความรู้ เคล็ดลับ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต และพัฒนาสัดส่วนผสมใหม่ ที่จะส่งผลท าให้
                  น้ าหนักของสินค้าลดลง
                       ที่ผ่านมากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์รูปยักษ์ ดั้งเดิมชาวบ้านใช้ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ า ผสมกันใน
               สัดส่วน 1:1.44:0.4 พบว่า ปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร ผลิตภัณฑ์รูปยักษ์มีน้ าหนักประมาณ 2 ตัน  ซึ่งจะมี

               อุปสรรคในการจ าหน่วย คือ ค่าขนส่งแพงเพราะน้ าหนักมาก ต้องเช่ารถเครนในการขนย้ายแต่ละครั้ง ใช้
               แรงงานคนประมาณ 5 คน ต้องใช้รถบรรทุกหลายเที่ยวเนื่องจากบรรทุกจ านวนมากต่อครั้งไม่ได้เพราะน้ าหนัก
               พิกัดรถบรรทุก ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว สมาชิกกลุ่มได้รวบรวมและสกัดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อน ามา

               ปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาสัดส่วนผสมใหม่

                       เคล็ดลับในการด าเนินงานครั้งนี้คือ การออกแบบสัดส่วนผสมให้มีน้ าหนักเบา แต่ยังคงความแข็งแรง
               ทนทาน มีความสวยงาม ท างานง่าย โดยได้น าน้ ายาโฟมฉีดพ่นผสมเข้ากับมอร์ตาร์จะท าให้เกิดฟองอากาศใน

               คอนกรีตเมื่อคอนกรีตแข็งตัวจะกลายเป็นช่องว่างอากาศ (air void) ที่มีขนาดเล็ก จะท าให้ปริมาตรคอนกรีต
               เพิ่มขึ้น และน้ าหนักจะลดลง โดยสัดส่วนผสมที่ออกแบบ คือ ปูนซีเมนต์:ทราย:น้ า:น้ ายาโฟม :
               1:1.2:0.56:(40%) (สมมาตร และคณะ, 2556)  รวมทั้งต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และแรงงานให้เพียงพอ
               เหมาะสมเพื่อด าเนินการขึ้นรูปผลิตยักษ์ รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 1
   337   338   339   340   341   342   343   344   345   346   347