Page 8 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 8
2
บทน า
การจัดการความรู้มีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งส าหรับองค์กรทุกระดับ เพื่อเตรียมตัวพัฒนาสถานศึกษา
บุคลากร และผู้เรียน การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือส าคัญเพื่อให้เกิดบรรลุเป้าหมายของงานการพัฒนาคน และ
พัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นหมู่คณะที่มีความเอื้ออาทรต่อกันในระหว่างการปฎิบัติงาน แนวคิดใน
การจัดการความรู้ที่ส าคัญๆ ได้แก่ แผนผังก้างปลา (Tuna Model) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายในการจัดการ
ความรู้ที่ประกอบด้วย (1) ส่วนหัว หมายถึง เป้าหมาย (2) ส่วนกลางล าตัว หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (3)
ส่วนหาง หมายถึง คลังความรู้ที่เชื่อมโยงเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (วิจารณ์ พานิช,2548 : 20-23)
และในส่วนของภาครัฐโดยส านักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการได้ก าหนดกรอบแนวคิดการจัดการความรู้
เพื่อการพัฒนาบุคคลและองค์กรไว้ 7ขั้นตอน คือ (1) การค้นหาความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (3)การจัด
ความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (5) การเข้าถึงความรู้ (6)การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
(7) การเรียนรู้ (ส านักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ, 2548 : 24-32)
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี เป็นสถาบันการศึกษาที่มีพันธกิจด าเนินการจัด
การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ด้านนาฏศิลป์ ดนตรี เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ และเผยแพร่ผลงานในระดับ
ท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ ท าให้มีการเดินทางไปราชการทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นประจ า
ที่ผ่านมาบุคลากรผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศ จะถูกทักท้วงเกี่ยวกับการปฏิบัติตามขั้นตอนด าเนินการ
โดยเฉพาะในส่วนของเอกสารที่ใช้ประกอบการเบิกจ่ายจากผู้ตรวจสอบ จึงล าบากแก่ทุกฝ่ายที่จะต้องด าเนินการ
แก้ไขเอกสารภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจการเดินทางไปราชการต่างประเทศ มีรายงานว่ากระทรวงศึกษาธิการและ
มหาวิทยาลัยในสังกัด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎ ได้จัดการรวบรวมองค์ความรู้ เรื่อง การ
เดินทางไปราชการ จัดท าเป็นคู่มือการปฏิบัติงานแก่บุคลากร และมีผลการวิจัย พบว่าปัจจัยแห่งความส าเร็จใน
การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏประกอบด้วย ภาวะผู้น าของผู้บริหาร โครงสร้างพื้นฐานการจัดการ
ความรู้ วัฒนธรรมองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศ และการประเมินผล (เสนาะ กลิ่นงาม, 2551 : 76-82)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้บริหารวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี จึงได้ก าหนดประเด็นยุทธศาสตร์จัดการองค์
ความรู้เกี่ยวกับระเบียบการเดินทางไปราชการต่างประเทศ เพื่อให้การเบิกค่าใช้จ่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
และเป็นประโยชน์กับผู้ที่เดินทางไปราชการ รวมทั้งผู้ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย ลดความเสี่ยงในการถูก
ตรวจสอบจนอาจจะถูกเรียกเงินคืนและ/หรือถูกด าเนินการทางวินัย ผลที่ได้จากการจัดการความรู้ครั้งนี้ วิทยาลัยฯ
จะได้ใช้เป็นแนวทางพัฒนางานสายสนับสนุนและแนวปฏิบัติแก่บุคลากรในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ
วิธีการด าเนินงาน
การจัดการความรู้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความรู้และจัดท าคู่มือเรื่องการเดินทางไปราชการ
ต่างประเทศของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์แบบ
สนทนากลุ่ม และการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อค้นหาความสามารถหลักจากผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 14คนซึ่งเป็น
บุคลากรผู้มีแนวปฏิบัติงานที่ดี (Bestpractice) มีประสบการณ์โดยเฉพาะ เรื่องการเดินทางไปราชการต่างประเทศ
น ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปวิเคราะห์เนื้อหา และน าเสนอผลการจัดการความรู้ ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
แหล่งข้อมูลที่ใช้เป็นบุคลากร สายบริหาร สายวิชาการ และสายสนับสนุน จ านวน14คน และเอกสารด้าน
กฎหมายระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปราชการต่างประเทศได้แก่คู่มืองานวิเทศสัมพันธ์สถาบัน
บัณฑิตพัฒนศิลป์ระเบียบกระทรวงการคลังระเบียบกรมบัญชีกลางระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ