Page 121 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 121
115
ขั้นตอนที่ 3 : การวิเคราะห์ (Analysis)
ผู้พัฒนาระบบ ได้น าความรู้จากขั้นตอนที่ 1 คือเข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ใช้
(Requirement Analysis) โดยการเล่าเรื่อง และศึกษาเอกสารได้แก่ คู่มือการใช้งาน แผนผังองค์กร รายงาน
ต่างๆ ตรวจสอบวิธีการท างานในปัจจุบัน สัมภาษณ์ผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ เพื่อน ามาวิเคราะห์ระบบงาน
ในขั้นนี้ได้น าเครื่องมือการจัดการความรู้ (KM Tools) ที่ใช้คือที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Mentoring
Programs) เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับระบบงานเดิม และการออกระบบงานใหม่ที่เหมาะสม นอกจากนี้แล้วยังใช้
การทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Review-AAR) เพื่อยืนยันการวิเคราะห์ระบบว่าเข้าใจถูกต้อง
ตรงกันระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับความ
ต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 4 : การออกแบบ (Design)
ผลจากการจัดการความรู้ เพื่อเข้าใจสภาพปัญหาของระบบงานเดิม และวิเคราะห์เพื่อออกแบบ
ระบบงานใหม่ สู่ขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งได้แก่ การออกแบบฐานข้อมูล(Database design) การไหลของ
ข้อมูล (Data flow Diagram) การออกแบบฟอร์มส าหรับข้อมูลน าเข้า (Input Form) ออกแบบกระบวนการ
(Process) ออกแบบรายงาน (Report Form) และการแสดงผลบนจอภาพ (Screen Format) หลักการการ
ออกแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน และป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น (บดินทร์ วิจารณ์, 2547.)
ในขั้นนี้ได้น าเครื่องมือการจัดการความรู้ (KM Tools) คือการมีที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อวิเคราะห์
เกี่ยวกับระบบงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดขั้นตอน ท างานได้อย่างถูกต้องมีความน่าเชื่อถือ โดยมีการทวน
สอบหลังการออกแบบทุกขั้นตอน โดยมีผู้พัฒนาระบบ (Developer) พี่เลี้ยง (Mentor) และอาจารย์ที่ปรึกษา
(Coaching) (บดินทร์ วิจารณ์, 2547.)
ขั้นตอนที่ 5 : การพัฒนาระบบ (Construction)
ผู้พัฒนาใช้ฐานข้อมูล Mysql เขียนโปรแกรมโดยภาษา PHP ออกแบบเว็บไซต์โดยโปรแกรม
Dreamweaver ลักษณะการท างานแบบ client server โดยการออกแบบให้มีผู้ใช้หลายกลุ่ม ได้แก่
เจ้าหน้าที่งานนโยบายและแผน อาจารย์ นักศึกษา ผู้บริหาร และบุคคลทั่วไป เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไป
อย่างถูกต้อง จึงมีการทวนสอบและประเมิน (After Action Review-AAR) ร่วมกับเจ้าหน้าที่งานนโยบายและ
แผนซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบ (Admin) อย่างสม่ าเสมอ (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2545)
ในขั้นนี้ได้น าเครื่องมือการจัดการความรู้ (KM Tools) เกี่ยวกับการโดยที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อ
วิเคราะห์เกี่ยวกับระบบงานเดิมหรือดูแลเอกสารภายในองค์กรที่มีอยู่ โดยการที่มอบหมายให้พี่เลี้ยงเป็นผู้
แนะน าและสอนวิธีการด าเนินงานให้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในเวลาอันรวดเร็ว และสอดคล้องกับ
ระบบงาน (บดินทร์ วิจารณ์, 2547.)
ขั้นตอนที่ 6: การปรับเปลี่ยน (Construction)
การน าระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงบประมาณมาใช้แทนการท างานด้วยมือ ด้วยการประชุมเพื่อ
ฝึกปฏิบัติ (Workshop) สาธิตการใช้งานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน