Page 139 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 139
133
the requirements from the community. Knowledge and technology transfer result in
improving work efficiency of the community, whilst knowledge sharing make students to
gather information for solving the problems with the practice.
Key words: data system, data management, tree bank
บทน า
ระบบฐานข้อมูลธนาคารต้นไม้เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการจัดการ
ข้อมูลธนาคารต้นไม้ในพื้นที่ ต าบลกะปาง อ าเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นชุมชนที่มีโครงการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบบูรณาการทั้งระบบอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชด าริ
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดย ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในภาคครัวเรือนในที่ดินท ากินของตนเองให้เกิด
การผสมผสานระหว่างพืชอาหาร พลังงาน และพืชที่เป็นไม้เศรษฐกิจภายใต้โครงการ “ธนาคารต้นไม้ สาขากะ
ปาง” ในรูปแบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หน่วยงาน สถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆ
จากการลงพื้นที่ของนักศึกษาพบว่าปัจจุบันชุมชนจัดการข้อมูลธนาคารต้นไม้ โดยบันทึกข้อมูลของ
ต้นไม้และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของการจดใส่สมุดหรือกระดาษโดยยังไม่มีเทคโนโลยีใดๆ ในการช่วย
เก็บบันทึกข้อมูล ซึ่งท าให้เกิดข้อผิดพลาดและยุ่งยากต่อการเก็บและค้นหาข้อมูลต้นไม้และข้อมูลอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้อง รวมทั้งยากต่อการน าข้อมูลไปใช้ส าหรับการจัดการและการตัดสินใจ
ดังนั้นโดยความร่วมมือของอาจารย์ นักศึกษา และชุมชน ระบบฐานข้อมูลธนาคารต้นไม้จึงได้รับการ
พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ในการจัดการข้อมูลธนาคารต้นไม้ระหว่าง
ชุมชนและนักศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถน าไปใช้ได้จริง รวมถึงการเรียนรู้
และการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงของนักศึกษา
วิธีการด าเนินงาน
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลธนาคารต้นไม้มีวิธีด าเนินการตามขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศ
โดยใช้ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนและนักศึกษา โดยเป็นการน าความรู้ที่ได้จากการ
แลกเปลี่ยนมาด าเนินการพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศตามหลักการของการวิเคราะห์และออกแบบ
ระบบและการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศึกษาระบบงานเดิมและงานที่เกี่ยวข้อง โดยการลงพื้นที่เพื่อศึกษาถึงสภาพรวมของการท างานและ
ปัญหาจากการท างานของระบบเดิม โดยการสัมภาษณ์และการสังเกตกระบวนการท างานของเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบในการดูแลข้อมูลธนาคารต้นไม้ รวมถึงการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารต้นไม้ (ธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, 2559) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการจัดเก็บข้อมูลธนาคารต้นไม้มีข้อมูลที่ต้อง
จัดเก็บดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลต้นไม้
2) ข้อมูลผู้รับผิดชอบต้นไม้
3) ข้อมูลพื้นที่
4) ข้อมูลการบันทึกการเจริญเติบโต
และมีรูปแบบการด าเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลดังต่อไปนี้