Page 136 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 136
130
การแลกเปลี่ยน และการทบทวนปรับปรุง มีการพัฒนาดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทั้งตัวนักศึกษาและหมู่คณะ รวมทั้งยัง
สามารถเปิดพื้นที่เรียนรู้ออกไปอย่างกว้างขวาง
ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน
ภายหลังจากที่จัดกิจกรรมเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักการสร้างการเรียนรู้สู่การ
เปลี่ยนแปลง มาด าเนินการดังรายละเอียดข้างต้น พบว่า ได้ก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่อตัวนักศึกษา นับเป็นคุณค่าสูงสุดของการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการ
สอนที่ถูกออกแบบเพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน กล่าวคือ นักศึกษาทุกคนได้
มีส่วนร่วมในจัดกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษาได้ผลัดกันท าหน้าที่เป็นผู้สอนหรือผู้น าเสนอ ท าให้เข้าใจ
ถึงกระบวนการท างาน การใช้ทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ฟัง การแสดงออกในที่สาธารณะและใช้
วิจารณญาณในการตัดสินใจ ภายใต้การเสริมสร้างและสอดแทรกเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์วิชาชีพที่
นักศึกษาก าลังศึกษาอยู่ควบคู่กันไป ส่วนนักศึกษารุ่นน้องได้รับค าแนะน า และได้รับประสบการณ์ที่ดีในการ
เรียน หรือเรื่องอื่นๆ จากรุ่นพี่ ศิษย์เก่า และสามารถน ามาปรับใช้ในการศึกษา การปฏิบัติงาน และการใช้ชีวิต
ในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีคุณภาพและมีผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้น
2. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่อหมู่คณะ นักศึกษารุ่นน้องได้พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวาง
และหลากหลาย ได้ท าความรู้จักกับรุ่นพี่มากยิ่งขึ้น เกิดความสัมพันธ์อันดีงาม ระหว่างนักศึกษาในหลักสูตร
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง และเสริมสร้างเครือข่าย
การเรียนรู้ที่แน่นแฟ้น ท าให้นักศึกษามีวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อไป
3. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่ออาจารย์ผู้สอน ผู้สอนได้ประสบการณ์ในการอ านวยการจัดการเรียนรู้
เกิดการเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา สามารถน ามาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและ
สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษามากขึ้น
4. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่อมหาวิทยาลัย คณะและสาขาวิชาฯ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วย
สานสัมพันธ์อันดีและสร้างเครือข่ายระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าของหลักสูตรสถาปัตยกรรมศา
สตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง
5. ประโยชน์และคุณค่าที่มีต่อชุมชนและสาธารณชน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถปรับใช้ได้
ส าหรับทุกคน ไม่จ ากัด อายุ เพศ และวัย โดยกลุ่มต่างๆ สามารถน าไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ที่มี
เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง ทั้งตนเองและสร้างสรรค์สังคมไทยต่อไป
หลังจากได้ด าเนินการภายใต้กระบวนการเรียนรู้ ยังพบว่า ปัจจัยที่ช่วยให้การจัดกิจกรรมประสบ
ผลส าเร็จ ได้แก่
1. อาจารย์ต้องท าหน้าที่เป็นผู้ให้ค าปรึกษา (Coach) ช่วยประสานงานและอ านวยความสะดวกตาม
ความจ าเป็น เช่น ติดต่อสถานที่ เชิญวิทยากร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในภาพรวม เป็นต้น และชี้แนะให้เห็น
ประโยชน์ของการเปลี่ยนการเรียนรู้ของนักศึกษาจากผู้รับฟัง (Passive Learner) มาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วย
ตัวเอง (Self-Learner)
2. ระยะเวลาและบรรยากาศ มีส่วนส าคัญในการด าเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบความส าเร็จ
โดยเฉพาะกระบวนการถอดบทเรียน ซึ่งต้องมีลักษณะที่เอื้อให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น ควรมีเวลามาก
พอ ไม่เร่งเร้าจนเกิดความกดดัน และนักศึกษาไม่อยู่ในสภาวะที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจนเกินไป
ปัญหาและอุปสรรคที่ส าคัญต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวนี้ ได้แก่