Page 137 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 137

131


                       1. ขาดสถานที่หรือห้องที่มีความยืดหยุ่น ท าให้ไม่สะดวกในการย้ายโต๊ะ เก้าอี้ และสิ่งของต่างๆ เพื่อ
               จัดพื้นที่โล่งเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเรียนรู้กลุ่มย่อย รวมทั้งขาดนโยบายสนับสนุนการ

               สร้างสภาพแวดล้อมเชิงกายภาพที่ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
                       2. การมีวัฒนธรรมการเรียนแบบเดิมๆ ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่ใช่กิจกรรมเชิง
               สังคมที่สามารถเรียนรู้ร่วมกัน จึงท าให้ขาดความร่วมมืออย่างจริงจัง

               สรุปผล
                       แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง “สร้างความเข้มแข็งในการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง”

               นับเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการความรู้ด้าน “การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต (CoP1)” จากองค์กร 7
               ชุมชนนักปฏิบัติ สามารถเป็นแนวทางที่ช่วยให้อาจารย์ผู้สอน สามารถน าไปปรับใช้ในกระบวนการเรียนการ
               สอนที่มีจุดมุ่งหมายในการเปิดโอกาสให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรงและไตร่ตรองสะท้อนความคิด เพื่อให้มี
               มุมมองใหม่เกิดขึ้น สามารถน าไปถ่ายทอดให้ผู้อื่น ท าให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน

               กิจกรรมร่วมกัน ทั้งนี้จุดหมายหลักของการจัดการเรียนรู้นี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยกระดับการเรียนรู้ของ
               นักศึกษาให้สามารถบรรลุการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ได้
                       ความท้าทายจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงนี้ยัง
               อยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ต้องมีการศึกษาเรียนรู้ไปพร้อมกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยขยายการจัดการ

               ความรู้ ให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในทุกมิติ รวมทั้งด้านจิตใจ เป็นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ต้อง
               เปลี่ยนแปลงทั้งโลกทัศน์ ความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรม คือ เปลี่ยนแปลงอย่างครบถ้วนทุกด้าน เป็นการ
               เปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อทั้งตัว (Holistic Change) (วิจารณ์ พานิช, 2555: 15) ซึ่งต้องอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ
               และปลอดภัย เป็นการสนทนาอย่างไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังกันอย่างไม่ด่วน

               สรุปเป็นการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายชัดเจนโดยด าเนินงานร่วมกันในกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ได้อย่างเท่าเทียมกัน

               บรรณานุกรม


               ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และ ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. 2559. “การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่”.
                        ส านักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  [ออนไลน์] สืบค้นจาก
                        http://regis.skru.ac.th/RegisWeb/datafiledownload/
               วิจารณ์ พานิช. 2555. “เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง  Transformative  Learning”.  มูลนิธิสยามกัมมาจล.

                        กรุงเทพฯ : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จ ากัด.
               วิจารณ์ พานิช. 2556. “การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21”. มูลนิธิสยามกัมมาจล. กรุงเทพฯ : ส. เจริญการ
                        พิมพ์.
               วิจารณ์ พานิช. 2556. “ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง”. กรุงเทพฯ : บริษัทเอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปร

                        ดักส์ จ ากัด.
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142