Page 296 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 296

290


               บทน า

                       การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นหน้าที่หนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย  ในฐานะที่เป็น

               สถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยพึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ใน
               รูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่
               คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม  โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
               หน่วยงานอิสระ  ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการเรียนการสอนและวิจัย ส่งเสริมและ

               สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม  ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบน
               พื้นฐานวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนและการ
               เรียนรู้ตลอดชีวิต วิจัยและพัฒนาต่อยอดเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการแก่สังคม
               เผยแพร่ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่ดีจากการให้บริการทางวิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะช่วย

               ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการด าเนินชีวิตได้ดีขึ้น รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความ
               หลากหลาย เช่น ท างานวิจัยเพื่อตอบค าถามต่างๆ หรือเพื่อชี้แนะสังคม การให้บริการทางวิชาการนอกจาก
               เป็นการท าประโยชน์ให้สังคมแล้ว  คณะฯ ยังได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ  คือ  การเพิ่มพูนความรู้และ

               ประสบการณ์ของอาจารย์อันจะน ามาสู่การการบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอน
               และการวิจัย พัฒนาต าแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความร่วมมือกับ
               หน่วยงานต่าง ๆ โดยเป็นการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชน

                      เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency  Economy)  เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ใช้แนวทางการ
               ด ารงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ด าเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่

               จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบและระมัดระวังในการ
               วางแผนและด าเนินการทุกขั้นตอน  ทั้งนี้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการด าเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั้งยืน เพื่อให้
               สามารถอยู่ได้ ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันสูง

                        ชุมชนบ้านไสต้นวา มีลักษณะของภูมิประเทศโดยทั่วไป พื้นที่เป็นที่ราบและที่ดอนค่อนข้างสูงและ
               เป็นชายทะเล พื้นที่ทางตอนเหนือจะเป็นที่ราบค่อนข้างสูง ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบมีภูเขา ทิศ

               ตะวันตกเป็นเทือกเขาบางส่วนและติดกับชายทะเล ส่วนทิศใต้เป็นพื้นที่ราบ ชุมชนบ้านไสต้นวาตั้งอยู่ที่ต าบล
               บ่อหิน อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง มีเนื้อที่ทั้งหมดจ านวน 14,950 ไร่ มีครัวเรือนจ านวน  295 ครัวเรือน
               ประชากรจ านวนทั้งหมด 929 คน เป็นเพศชาย 432 คน เพศหญิง 497 ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
               เกษตรกรรม ได้แก่ การท าสวนยางพารา สวนปาล์มน้ ามัน เป็นต้น และประกอบอาชีพท าการประมง

               นอกจากนี้ประชากรบางส่วนประกอบอาชีพมากกว่าหนึ่งอาชีพควบคู่กัน คือ การรับจ้างและเกษตรกรรม
               ประมงและเกษตรกรรม จากการส ารวจความต้องการขั้นต้นโดยการสัมภาษณ์แกนน าของชุมชนพบว่า สมาชิก
               ในชุมชนต้องการให้คณะฯ อบรมให้ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า การแปรรูป
               ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ า เศรษฐกิจพอเพียง การท าบัญชีครัวเรือน ให้กับสมาชิกในชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ เสริมรายได้

               และลดรายจ่ายของครัวเรือน
                      ดังนั้นจากหลักการและเหตุผลดังกล่าว สาขาศึกษาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
               ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ด้วยการจัดโครงการบริการวิชาการแก่
               สังคมในพื้นที่ชุมชนบ้านไสต้นวา ต าบลบ่อหิน อ าเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเริ่มต้นจาก

               การด าเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ให้มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุขและด าเนินการส่งเสริม
               การเรียนรู้การปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจส าหรับประชาชนและมุ่งพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั้งยืน
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301