Page 291 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 291
285
4. รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน และการวิจัย ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit
Knowledge) ผ่านเว็บไซต์ http://km.cpc.ac.th (Demand-based) และสังคมออนไลน์ Facebook ในกลุ่ม
KM BUSIT-CPC เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเลือกใช้ความรู้ที่ต้องการได้
5. น าความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษา ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และจากความรู้ ทักษะ
ของผู้มีประสบการณ์ตรงที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยมีการจัดท าเป็นแผนปรับปรุง
คุณภาพการปฏิบัติงานและเป็นโครงการต่อเนื่องทางด้านการวิจัย
ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน
ผลการด าเนินการจัดการความรู้ เรื่อง ด้านการวิจัย เทคนิคการเขียนบทความวิจัย งานสร้างสรรค์ให้มี
การตีพิมพ์เผยแพร่และ/หรือน าไปใช้ประโยชน์ในระดับชาติและนานาชาติ มีผลการปฏิบัติที่ดีกับการวิจัย ของ
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
3 เทคนิค ดังนี้ เทคนิคที่ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นวลละออ อานามวัฒน์ อาจารย์ประจ าสาขาวิชา
เศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การขอต าแหน่งทาง
วิชาการ ว่าได้เข้าบรรจุเป็นราชการที่วิทยาเขตบางพระ โดยได้เห็นว่าคณาจารย์วิทยาเขตบางพระ 70 % มี
ต าแหน่งวิชาการท าให้เกิดแรงบันดาลใจ แรงผลักดันในการขอต าแหน่งทางวิชาการ มีรายละเอียด ดังนี้
1. เริ่มท าเอกสารประกอบการสอน ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ ที่มีความสนใจโดยพิจารณา
ค าอธิบายรายวิชาว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง ซึ่งเป็นเสมือนการสร้างบ้านโดยเริ่มสร้างโครงบ้าน ช่วงแรกน าขององค์
ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาสอดแทรกในเอกสารประกอบการสอน
2. วางเป้าหมายในการท าเอกสารประกอบการสอนให้มีความชัดเจน โดยฝึกตนเองให้ท าทุกวัน
สม่ าเสมอ อ่านหนังสือแหล่งข้อมูลต่างๆและน าภาษาของคนอื่นมาปรับเป็นของตนเอง และอย่าใจร้อน หากท า
เป็นประจ าจะสามารถบังคับจิตใจตนเองให้สามารถท าสะสมทุกวัน
3. ในการท าเอกสารประกอบการสอนจะต้องดูย้อนหลัง 3 ปีการศึกษาในมุมมองผู้แลกเปลี่ยนการท า
ผลงานวิชาการถือเป็นฐานในการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก และท าให้เกิดการพัฒนาด้านความคิด การพูด
4. การท าเอกสารประกอบการสอนในรายวิชานั้น สามารถพิจารณาเนื้อหาให้เหมาะกับบริบทบัณฑิต
นักปฏิบัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
5. การเลือกรายวิชาเพื่อท าเอกสารประกอบการสอน สามารถเลือกวิชาเอกเลือกได้ แต่ต้องพิจารณา
ระยะเวลาว่ารายวิชาคาบเกี่ยวระหว่างหลักสูตรใหม่ และหลักสูตรเก่า
6. การประเมินการสอนในขั้นตอนการขอต าแหน่งทางวิชาการนั้น จะมีคณบดี หัวหน้าสาขาวิชา และ
ผู้ทรงคุณวุฒิที่อาจารย์สามารถพิจารณาเพื่อมาประเมินการสอนได้
7.การวางแผนรายวิชาที่จะขอต าแหน่งทางวิชาควรมี 2 รายวิชาเพื่อท าเอกสารประกอบการสอนและ
ต ารา
เทคนิคที่ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิระพร เนตรนุช อาจารย์ประจ าสาขาวิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ
และเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเห็นได้ว่าการท าวิจัยของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีผลต่อการจัดอันดับของ
มหาวิทยาลัยทั่วโลก ตลอดจนเป็นตัวชี้วัดส าคัญของคุณภาพมหาวิทยาลัย จึงเป็นสิ่งที่ท าให้คณาจารย์หันมา
สนใจท าวิจัย การแลกเปลี่ยนด้านเทคนิคการเขียนบทความวิจัย และการขอต าแหน่งวิชาการ มีรายละเอียด
ดังนี้