Page 294 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 294

288


                       2. คณาจารย์มีแรงบันดาลใจในการท าวิจัยและมีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นในการเขียนบทความวิจัย งาน
               สร้างสรรค์ให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่น าไปใช้ประโยชน์ในระดับชาติและนานาชาติเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีแหล่งข้อมูล

               ในการเผยแพร่งานวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารจัดการด้วยหลัก
               ธรรมาภิบาลที่ต้องการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพส่งผลต่อการผลักดันมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นองค์กร
               คุณภาพ
                       3. ด้านประกันคุณภาพการศึกษา มีผลการด าเนินงานในด้านการวิจัยที่ดีขึ้นทั้งในระดับหลักสูตร คณะ

               สถาบัน
                       ปัญหาในการด าเนินงาน
                       1. คณาจารย์มีข้อจ ากัดด้านเวลา ภาระงานประจ า กิจกรรมระดับคณะ มหาวิทยาลัยที่มีความกระทบ
               ต่อกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ เนื่องจากต้องประสานงานด้านวัน เวลากับทั้งคณะกรรมการจัดการความรู้และ

               ผู้แลกเปลี่ยนให้ตรงกัน ท าให้การนัดหมายในบางครั้งมีความจ าเป็นต้องเลื่อนหรือควบคุมเวลาไม่ให้เกิดผล
               กระทบ
                       2. การสื่อสารภายในองค์กรไม่ครอบคลุม เช่น การที่คณะกรรมการจัดการความรู้น าองค์ความรู้จาก
               การประชุมแลกเปลี่ยนไปถ่ายทอดยังคณาจารย์สาขาวิชามีข้อจ ากัดด้านเวลา สถานที่


                       แนวทางแก้ไขปัญหาจากการด าเนินการ
                       1. มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานวิทยาเขต คณะ สาขาวิชา เพื่อขอรายละเอียดวัน เวลา ของ
               กิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดขึ้น เพื่อให้สามารถวางแผนการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ได้
                       2. ผู้ประสานงานคณะกรรมการจัดการความรู้   จะใช้ช่องทางสังคมออนไลน์ เช่น อีเมลที่ปัจจุบัน
               คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการด าเนินการให้คณาจารย์ทุกท่านใช้อีเมล @cpc.ac.thและ

               เฟสบุ๊คกลุ่มคณะกรรมการจัดการความรู้ โดยการสรุปประเด็นจากการแลกเปลี่ยนส่งยังทุกสาขาวิชา
                       3. การพัฒนาองค์ความรู้จากผู้แลกเปลี่ยนในรูปแบบที่เข้าถึง เข้าใจง่าย เช่น อินโฟกราฟฟิค คลิป
               วีดีโอ สามารถเรียนรู้ได้ผ่านเทคโนโลยีทุกเวลา สถานที่

               สรุป

                       สถานศึกษาที่สามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในด้านต่างๆ ตามพันธกิจ
               ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม จะท าให้บุคคลากรมีแรงบันดาลใจในการ
               พัฒนาตนเอง เรียนรู้สร้างความเข้าใจในสิ่งใหม่ ๆ เพื่อน ามาประยุกต์ใช้ในการท างาน และต้องพัฒนาทักษะใน

               ด้านต่าง ๆ ของตนเองเพื่อเตรียมพร้อมรองรับงานที่รับผิดชอบและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ส าเร็จลุล่วง
               จึงจ าเป็นที่จะต้องเรียนรู้พัฒนาปรับเปลี่ยนและสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี   สามารถปฏิบัติงาน
               ตามภาระหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้

               บรรณานุกรม

               คณะกรรมการการจัดการความรู้. 2558. คู่มือการจัดการความรู้ด้านวิจัย ปีการศึกษา 2558. คณะ
                        บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักร
                        พงษภูวนารถ, กรุงเทพฯ.
   289   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299