บทความ KM – Roi Et Brand : แนวคิดการสร้างแบรนด์ประทับตรารับรอง
บทความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถการ สัตยพาณิชย์ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2561 ผมได้มีโอกาสไปเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดตราสัญลักษณ์แบรนด์จังหวัดร้อยเอ็ด (Roi Et Brand) จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด ก็ต้องถือว่าเป็นอีกครั้งที่ได้พบเห็นกิจกรรมในลักษณะนี้เกิดขึ้น และสะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐทุกวันนี้ให้ความสำคัญกับ แนวคิดการสร้างแบรนด์ กันมากขึ้น การสร้าง Roi Et Brand ของจังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อนำตราสัญลักษณ์แบรนด์ที่ชนะการประกวดไปประทับตราให้แก่สินค้าหรือบริการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ทางจังหวัดฯ กำหนดขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการว่าสินค้าหรือบริการนั้นได้ผ่านการรับรองคุณภาพในด้านต่างๆ แล้ว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบางจังหวัดที่เริ่มสร้างแบรนด์ในลักษณะ Endorsed Brand ขึ้น เพื่อเป็นการประทับตรารับรองผลิตภัณฑ์ของจังหวัด เช่น สงขลา ก็มีแบรนด์ Best of Songkhla ส่วน บุรีรัมย์ ก็ใช้ชื่อแบรนด์ว่า Buriram Brand เป็นต้น ในมุมมองของคนสร้างแบรนด์ก็จะรับรู้กันว่า Endorsed Brand เป็นการใช้แบรนด์หลัก (Masterbrand’s endorsement) มาเพื่อช่วยประทับตรารับรองความน่าเชื่อถือ และเป็นการช่วยสร้างการจดจำให้แก่สินค้าใหม่ที่ออกมาให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว อย่างเช่นตอนที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ควิก ออกวางตลาดใหม่ ๆ ก็จะใช้ Endorsed Brand คือแบรนด์ ไวไว เพื่อสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้า โดยใช้ชื่อแบรนด์เต็มๆ ในการสื่อสารเพื่อให้คนรับรู้กันในชื่อ ไวไว ควิก แต่พอออกมาได้สักระยะ ก็ค่อยๆ ลดขนาดตัวอักษร ไวไว ให้เล็กลง ในขณะที่ตัวอักษรคำว่า ควิก มีการขยายให้ใหญ่ขึ้น การเลือกแนวทางการสร้างแบรนด์แบบนี้ คนที่สร้างแบรนด์ก็มีความตั้งใจและเชื่อมั่นเป็นเบื้องต้นแล้วว่าแบรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้น อย่างในกรณี ควิก นั้นจะสามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง หลังจากแบรนด์หลักได้ทำหน้าที่ประคับประคองไปสักระยะหนึ่ง ตัวอย่างแบรนด์ในต่างประเทศที่ใช้แนวคิดนี้ก็มีหลายแบรนด์ เช่น […]