Page 159 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 159
153
ที่สุด ในกรณีที่มีปัญหานั้นต้องตรวจสอบด้วยการทดลอง ต้องก าหนดวิธีทดลอง หรือตรวจสอบเตรียมอุปกรณ์
เครื่องมือที่จะใช้ให้พร้อม
4. ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล ขั้นการเก็บและรวบรวมข้อมูลนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะศึกษา
ค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต ต าราเรียน การสังเกต การทดลอง การไปทัศน
ศึกษา การสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ จากสถิติต่างๆ ในขั้นนี้ผู้เรียนจะใช้วิธีการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็น
ระบบ เพื่อน าข้อมูลมาทดสอบสมมติฐาน
5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน เมื่อได้ข้อมูลที่รวบรวมมาแล้ว ผู้เรียนก็น าข้อมูล
เหล่านั้นๆ มาพิจารณาว่าจะน่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อน าข้อมูลเหล่านั้นๆ ไปวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานที่ตั้ง
ไว้ว่าเป็นไปตามที่ก าหนดหรือไม่
6. ขั้นสรุปผล เป็นขั้นที่น าข้อมูลมาพิจารณาแปลความหมายระหว่างสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น ผู้เรียน
ประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเลือกวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหา หรือเป็นการสรุปลงไปว่า
เชื่อสมมติฐานที่ก าหนดไว้นั่น ซึ่งอาจจะสรุปในรูปของหลักการที่จะน าไปอธิบายเป็นค าตอบ หรือวิธีแก้ปัญหา
และวิธีการน าความรู้ไปใช้ ในการสรุปผลนั้น เมื่อได้ข้อสรุปเป็นหลักการแล้ว ควรน าพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง
หนึ่งว่าน่าเชื่อถือหรือไม่
ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน
การสอนแบบแก้ปัญหาเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน ให้เรียนรู้ตามกระบวนการ โดยเริ่ม
ตั้งแต่มีการก าหนดปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล พิสูจน์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและ
สรุปผล ผู้สอนเป็นผู้เสนอปัญหาหรือผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันก าหนดปัญหาที่มีความส าคัญ เป็นปัญหาใหม่
ที่ผู้เรียนยังไม่เคยประสบมาก่อน และต้องไม่เกินทักษะทางเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้แก้ปัญหา
หรือหาค าตอบด้วยตนเอง ความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความรู้
ประสบการณ์ แรงจูงใจ อารมณ์ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาจะไม่มีรูปแบบหรือขั้นตอนตายตัว ผู้สอนจะต้องจัด
สภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา ผู้สอนจะต้องให้โอกาส
ผู้เรียนใช้ความคิดและฝึกการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความช านาญ จะท าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี ในการ
จัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหานั้น มีหลักการส าคัญ คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือกระท ากิจกรรมการ
เรียนรู้ จะเน้นทักษะการแสวงหาความรู้ การค้นพบ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศใน
ชั้นเรียนเป็นประชาธิปไตยน ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในขั้นตอนการจัดกิจกรรม
จากการด าเนินการดังกล่าวท าให้ผู้เรียนที่เรียนในรายวิชาเตรียมโครงการทางวิศวกรรม สามารถคิด
แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น รู้จักวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนในการท างานเป็นเพื่อให้งานส าเร็จตามที่วางไว้
และสามารถน าผลที่ได้ไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง
สรุปผลการวิจัย
เมื่อน าผลสรุปจากการเก็บข้อมูลนักศึกษาสามารถค้นพบความถนัด ความเชี่ยวชาญ ในตัวเองได้และ
สามารถคิดอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน มีเหตุผล น าสิ่งที่เรียนมาประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาและสร้างงานได้ ดู
ได้จากนักศึกษาสามารถเข้าใจและหาหัวข้อโครงการและขึ้นสอบหัวข้อโครงการได้ตามก าหนดที่วางไว้
ในการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาท าให้ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนได้ศึกษา
ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และผู้เรียนยังได้ฝึกทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลายด้าน เช่นทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจและกระบวนการกลุ่ม แต่ก็มี