Page 179 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 179
173
ภาพที่ 1 กระบวนการจัดการความรู้ (สมชัย เจียรกุล, 2557)
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge identification) เป็นการส ารวจองค์ความรู้ของบุคลากรที่
ปฏิบัติงานภายในส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้บุคลากรในกลุ่มเล่าหรือแสดงความถนัด
บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learned) ความเชี่ยวชาญ การเล่าประสบการณ์ท างานของแต่ละบุคคล
เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสรุปองค์ความรู้ของบุคลากร ซึ่งสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีความรู้
ด้านโปรแกรมภาษา PHP, HTML และ JavaScript ซึ่งสามารถน ามาวางแผนการพัฒนาโปรแกรมส าหรับการ
จัดท าระบบบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge creation and acquisition) หลังจากส ารวจองค์
ความรู้ ท าให้ทราบถึงความจ าเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้เพื่อจัดท าระบบบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต จากนั้น
สมาชิกกลุ่มศึกษาหาข้อมูลแล้วน ามาแลกเปลี่ยนความรู้จากการศึกษาข้อมูลใช้งานลงทะเบียนรูปแบบยื่นค าขอ
ลงทะเบียนด้วยเอกสาร ซึ่งไม่ได้รับความสะดวกของผู้รับบริการ เกิดความล้าช้าในการลงทะเบียนสมาชิก
ดังนั้นผลที่ได้จากการแสวงหาความรู้และแลกเปลี่ยนสมาชิกกลุ่มได้แนวทางขั้นตอนการด าเนินงาน และวิธีการ
พัฒนาจัดท าระบบบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตเป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge organization) กระบวนการนี้สมาชิกกลุ่มด าเนินการ
แบ่งหน้าที่ในการพัฒนาระบบโดยแบ่งเป็นการออกแบบโปรแกรม เขียนโปรแกรม และจัดท าฐานข้อมูล ตาม
ความช านาญของสมาชิก ซึ่งมีเป้าหมายคือการน าข้อมูลที่ได้จากแลกเปลี่ยนความรู้จากการลงทะเบียนแบบยื่น
ค าขอด้วยเอกสาร เปลี่ยนมาเป็นการลงทะเบียนด้วยวิธีออนไลน์เพื่ออ านวยความสะดวกแก่บุคคลกรให้
สามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง ซึ่งอยู่ในรูปแบบระบบฐานข้อมูล
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge codification and refinement)
กระบวนการนี้สมาชิกกลุ่มร่วมกันจัดท าคู่มือการใช้และข้อก าหนดโปรแกรมระบบบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต
เพื่อเป็นข้อตกลงในการใช้ระบบบัญชีสมาชิกร่วมกัน เกิดความเข้าใจในระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการ
สารสนเทศมหาวิทยาลัย