Page 174 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 174

168


               ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน

                       จากการด าเนินกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการการเรียนการสอนรายวิชา การพัฒนา
               ผลิตภัณฑ์อาหารสู่การบริการวิชาการชุมชน พบว่าในขั้นตอนการด าเนินการวางแผนได้จัดท าการประชุมกลุ่ม
               ย่อยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องท าให้เกิดการระดมสมองในกระบวนการจัดการองค์ความรู้อย่างแท้จริง เนื่องจาก
               คณะผู้ด าเนินงาน และตัวแทนชุมชนได้พูดคุยกัน และได้ให้แนวความคิดที่เป็นความต้องการของชุมชนอย่าง

               แท้จริง จึงสามารถสรุปรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่จะรับการถ่ายทอดได้ตรงตามความต้องการ ส าหรับขั้นตอนการ
               ด าเนินกิจกรรมพบว่า ผู้ด าเนินงานจะเป็นผู้ท าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยมีคณะอาจารย์เป็นผู้ควบคุม
               และถ่ายทอดเทคนิคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยอาจารย์และนักศึกษามีการพูดคุยเรื่องแนวความคิดของ
               ผลิตภัณฑ์ และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่จะท าการพัฒนา จึงท าให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ส าเร็จรุ่งล่วงไปตาม

               แผนงานที่ได้ก าหนดไว้ และได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของชุมชน

                       ส าหรับกิจกรรมการทวนสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเรียนการสอน พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการพัฒนา

               ผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถแก้ไขปัญหาที่ชุมชนต้องการได้เป็น
               อย่างดี เนื่องจากชุมชนไม่มีอุปกรณ์ในการบรรจุ หรือท าให้ปลอดเชื้อ แต่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บ
               รักษาได้นาน จึงจ าเป็นต้องใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ท าให้ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และเกิด
               การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์ให้น้อยที่สุด จากองค์ความรู้ที่คณะผู้ด าเนินงานได้รับการ
               ถ่ายทอด จึงท าให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามความต้องการของชุมชน ส าหรับในขั้นตอนการน าองค์ความรู้จาก

               การเรียนการสอนที่ได้ไปใช้ในการบริการวิชาการ พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ตรงตามความต้องการของชุมชน และ
               เทคโนโลยีที่ใช้ในการยืดอายุของการเก็บรักษาก็เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ชุมชนสามารถผลิตได้เอง กล่าวคือการ
               อบแห้งโดยใช้แสงอาทิตย์ การใช้น้ าตาล และการหมักดอง สามารถยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ได้นาน

               ขึ้น ซึ่งจากการติดตามผลการด าเนินงานของชุมชน พบว่าชุมชนได้มีการด าเนินการโครงการที่จะปรับปรุง
               สถานที่ผลิต เพื่อจะผลิตขายให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนในอนาคต

               สรุป


                       จากกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการเรียนการสอน จนถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จาก
               การเรียนการสอนให้แก่ชุมชนนั้น พบว่าถ้าเกิดจากความร่วมมือของทั้ง 3 ฝ่ายแล้ว กิจกรรมของการถ่ายทอด

               องค์ความรู้จะประสบผลส าเร็จเป็นไปตามแผนที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้จ าเป็นที่จะต้องมีองค์ความรู้ที่
               ดี และทักษะในการถ่ายทอดที่ดี รวมถึงสารที่ใช้ในการถ่ายทอดจะต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับการถ่ายทอดได้รับ
               การถ่ายทอดตรงตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ส าหรับในกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการเรียนการ
               สอนโดยผ่านการบริการวิชาการนั้น เอกสารที่ใช้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญอย่งยิ่ง

               เนื่องจากผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้มีหลายระดับ จึงต้องมีการเลือกใช้สารที่เหมาะสม และเข้าใจง่าย เพื่อให้
               ผู้รับสารสามารถรับความรู้จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้มากที่สุด รวมถึงการลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน
               เพื่อให้ได้รับความรู้ผ่านการปฏิบัติจริงเพื่อให้สามารถน าไปลงมือปฏิบัติได้เอง ดังนั้นการเรียนการสอนใน

               ศตวรรษที่ 21 จึงมีบทบาทส าคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะมีส่วนในการพัฒนาศักยภาพให้นักศึกษาได้เรียนรู้การแก้ไข
               ปัญหาให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จริง
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179