Page 214 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 214
208
give a good cooperating with students also this activity can made the people of community
was pride of their own place and lifestyle cause of value in their own community.
Key words: Klong Bangluang Community, Graphic, Urban Revitalization
บทน า
การใช้ภาพหรือกราฟิก (Graphic) ประกอบการสื่อสารหรือสื่อความหมาย จะช่วยให้สามารถท าความ
เข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ง่าย จดจ าได้ดี และมีประสิทธิภาพในการดึงดูดความสนใจได้มากกว่าการใช้ข้อความ
บรรยายเพียงอย่างเดียว โดยปกติเราอาจพบเห็นงานกราฟิกอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาต่างๆ
บริเวณป้ายรถเมล์ ข้างรถโดยสาร หน้าร้านค้า บนห่อขนม ข้างขวดน้ าดื่ม ฯลฯ งานกราฟิกที่ดีที่สามารถสื่อ
ความหมายได้ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยให้สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกิดจินตนาการร่วมกัน อีกทั้งยังเกิด
ทัศนคติที่ดีต่อกันหรือถึงขั้นคล้อยตามให้ปฏิบัติตามได้ หรืออาจกล่าวได้ว่างานกราฟิกสามารถสะท้อนให้ผู้พบ
เห็นเกิดความรู้สึกตามที่ภาพนั้นๆ แสดงออกมา ซึ่งมนุษย์ได้เป็นผู้ก าหนดสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆขึ้น เพื่อ
ประโยชน์ของการสื่อสารกันและได้จัดหมวดหมู่ไว้ตามความเข้าใจอีกด้วย แม้ว่าภาพนั้นจะไม่สัมพันธ์กับ
ความหมายโดยตรงก็ตาม (ทองเจือ เขียดทอง, 2548)
ดังนั้น การน าเทคโนโลยีมาใช้ในการท างานกราฟิกเพื่อชุมชน เช่น การท าป้ายบอกเส้นทาง บอก
ต าแหน่งสถานที่ส าคัญของชุมชน ตลอดจน ป้ายเตือนอันตรายต่างๆ เพื่อให้ทั้งผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือนได้รับรู้
ข้อมูลของชุมชนนั้นๆ ได้ชัดเจนมากขึ้นโดยไม่ต้องถามหรือบอกกันแบบปากเปล่า แต่เป็นการใช้กราฟิกสื่อสาร
แทนค าพูด โดยการออกแบบต้องสะท้อนบุคลิกลักษณะของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นสี ตัวอักษร รูปแบบการจัดวาง
การใช้ภาพที่เป็นแนวทางเดียวกันท าให้สื่อภาพลักษณ์ชุมชนไปในแนวทางเดียวกันได้ (เพ็ญศรี จุลกาญจน์
และชวิศ น้อยหัวหาด, 2559) ทั้งนี้ เทคโนโลยีในปัจจุบันยังช่วยให้สามารถจ าลองภาพบรรยากาศที่ได้ท าการ
ออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก่อนน าไปใช้ในงานจริงหรือน าไปสร้างจริง งานกราฟิกจึงมีส่วนส าคัญที่
ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ชุมชน อีกทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังช่วยให้ท างานได้เร็ว สามารถลบ
ท าซ้ า ใส่รายละเอียดต่างๆได้ (ทองเจือ เขียดทอง, 2548) นับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชุมชนที่
น่าสนใจรูปแบบหนึ่ง
ในประเทศไทย มีชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์และมีคุณค่าอยู่จ านวนมาก แต่ในปัจจุบันการพัฒนา
บ้านเมืองให้ทันสมัย ได้ท าหลายชุมชนสูญเสียเอกลักษณ์ไปตามกาลเวลา พร้อมกับ บางแห่งถูกปล่อยปละ
ละเลยให้ทรุดโทรม โดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่ริมน้ า ซึ่งในอดีตได้ใช้เส้นทางแม่น้ าในการสัญจร ภายหลังเมื่อมี
การตัดถนนเข้าสู่พื้นที่ ท าให้เส้นทางน้ าหมดความส าคัญลงพร้อมๆ กับชุมชนริมน้ าที่ซบเซาลง และมักท าให้
ชุมชนยากแก่การเข้าถึงด้วยเส้นทางจากถนนที่คดเคี้ยว เนื่องจากสภาพพื้นที่ หรือบางแห่งมีถนนที่คับแคบ
รวมทั้งมีความซับซ้อนของเส้นทางที่จะเข้าสู่ตัวบ้านเรือน สถานที่ส าคัญของชุมชน รวมทั้งบริเวณพื้นที่ริมน้ า
(เสาวภา พรสิริพงษ์และคณะ, 2551) ซึ่งสวนทางกับสภาวการณ์ปัจจุบันที่ชุมชนริมน้ าเหล่านี้กลับกลายเป็น
แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ท าให้ชุมชนประสบกับปัญหาการจราจรที่หนาแน่น การถูกรบกวนความเป็นส่วนตัว
รวมทั้งผู้มาเยือนประสบปัญหาไม่มีที่จอดรถ ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ตรงบริเวณไหน เป็นต้น การใช้กราฟิกเข้ามาช่วย
แก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับชุมชนจึงมีความเป็นไปได้และท าให้ชุมชนมีความน่าสนใจ มีเอกลักษณ์ต่างจากชุมชน
อื่นๆ
ชุมชนริมคลองบางหลวง ตั้งอยู่ริมคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นอีกชุมชนหนึ่ง
ที่มีความส าคัญและมีความเป็นมายาวนาน กล่าวคือ บริเวณริมคลองบางหลวงมีผู้คนตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัย