Page 215 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 215

209


               กรุงศรีอยุธยา โดยมีแม่น้ าเจ้าพระยาเป็นแม่น้ าสายหลัก คลองบางหลวงอยู่ตรงบริเวณเส้นทางแม่น้าเจ้าพระยา
               สายเก่าฝั่งตะวันตกช่วงคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่มีวัดที่เก่าแก่  2  แห่งคือ  วัดคูหาสวรรค์วรวิหารและวัด

               ก าแพงบางจาก ปัจจุบันชุมชนได้มีการปรับปรุงพื้นที่ให้รองรับการท่องเที่ยวในบางส่วน  โดยในชุมชนเองมี
               สถานที่ส าคัญและมีชื่อเสียง คือ บ้านศิลปิน โดยเป็นการปรับปรุงบ้านไม้เก่าให้เป็นที่ท างานและแสดงผลงาน
               ศิลปะ  (ภาพถ่าย  ภาพวาด) ซึ่งมักมีนักท่องเที่ยวแวะมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ การจัดกิจกรรมทางศิลปะและ
               วัฒนธรรมด้านการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่ผู้คนได้สืบทอดกันมา ได้แก่ คณะเชิดสิงโต คณะโชว์

               กระตั้วแทงเสือ อันเป็นจุดเด่นส าคัญ จึงนับว่าชุมชนริมคลองบางหลวงมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่ง
               เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของย่าน (การส ารวจ, 2559)

                       โครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่า ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ทั้งกรรมาธิการสถาปนิก
               เพื่อสังคมและเมือง สมาคมสถาปนิกสยามฯ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) มูลนิธิส านักงานทรัพย์สินส่วน
               พระมหากษัตริย์ สถาบันอาศรมศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

               โครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่า ด าเนินการในรูปแบบกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) โดยใช้ชื่อว่า
               “โครงการฟื้นฟูชีวิตชุมชนริมคลองบางหลวงและคลองบางประทุน ด้วยกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม”
               (ASA-CAN Workshop 2016 "Place-making: Living with Water") ระหว่างวันที่ 10 - 19 มิถุนายน 2559

               โดยเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม
               ความเป็นชุมชนและความเป็นถิ่นที่ (sense of place) ผ่านกระบวนการท างานอย่างมีส่วนร่วมกับทั้งภาครัฐ
               ภาคเอกชน ชาวชุมชน สถาบันการศึกษาที่หลากหลายสาขาวิชา และภาคประชาสังคมอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในกิจกรรม
               ที่จัดท าขึ้น คือ “กราฟิกพาเดิน” ซึ่งเป็นการสื่อความหมายด้วยกราฟิก (graphic) แทนการใช้ตัวอักษร เพื่อให้
               ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนคลองบางหลวงที่คนในชุมชนและผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเยือนจะสามารถเข้าใจง่ายและจดจ าได้

               ซึ่งข้อมูลที่น ามาสร้างอินโฟกราฟิกนั้น มาจากการส ารวจพื้นที่ชุมชนและการสัมภาษณ์คนในชุมชน จึงท าให้
               ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องแม่นย า และเป็นการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM tools) ประเภท การเล่าเรื่อง
               (Story Telling) ในการท ากิจกรรมนี้



               วิธีการด าเนินงาน

                       โครงการ ASA-CAN Workshop 2016 "Place-making: Living with Water” จัดขึ้น ณ ชุมชนริม
               คลองบางหลวงและชุมชนริมคลองบางประทุน  กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10  -  19  มิถุนายน 2559 โดยเปิด
               โอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชุมชนคลองบางหลวง และ

               กลุ่มชุมชนคลองบางประทุน ซึ่งผู้เขียนได้อยู่ในกลุ่มคลองบางหลวง กิจกรรมส าคัญหนึ่งที่จัดท าขึ้นในระหว่าง
               การ workshop คือ “กราฟิกพาเดิน” ซึ่งเป็นการสื่อความหมายด้วยกราฟิก (graphic) แทนการใช้ตัวอักษร
               โดยใชการส ารวจและการสัมภาษณ์คนในชุมชนเกี่ยวกับความเป็นอยู่และวิถีชีวิตในชุมชน เพื่อน ามาสร้าง
               กิจกรรมในการวางแผนฟื้นฟูชุมชน ซึ่งเป็นการเล่าเรื่อง (Story  Telling)  โดยคนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในชุมชน

               นับเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้เครื่องมือจัดการความรู้ (KM Tools) ที่ช่วยให้เข้าใจและเข้าถึงข้อมูลในพื้นที่ได้
               อย่างถูกต้องชัดเจน จากนั้นน าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วสรุปเป็นโครงการย่อย ประกอบด้วย 3 โครงการ คือ
               “รอยเท้า..เล่าเรื่อง” “เด็กเดินน า” “หนังสือ..เดินตาม” นับเป็นกิจกรรมที่ส าคัญที่ท าให้คนในชุมชนต่างให้
               ความสนใจและให้ความร่วมมือในการท ากิจกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ทีมนักศึกษาได้มีการเลือกใช้

               เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพกราฟิก การตัดต่อภาพ และน าเสนอภาพอนาคตที่จะ
               เกิดขึ้นในชุมชนให้ผู้คนเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งนับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนส าคัญ ดังนี้
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220