Page 220 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 220

214


               อภิปรายผลการด าเนินงาน

                       กิจกรรม “กราฟิกพาเดิน” ในชุมชนริมคลองบางหลวง นับเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ภายใต้กระบวนการ
               ด้านการออกแบบชุมชนเมืองที่ช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่ชุมชนเก่า โดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้า
               มาเป็นเครื่องมือในการท างาน ปัญหาโดยทั่วไปของชุมชนลักษณะนี้มักพบว่า ถนนในชุมชนมีความคับแคบ
               ยากแก่การเข้าถึงและซับซ้อน บางครั้งเป็นถนนปลายตัน เนื่องจากความเป็นชุมชนเก่าที่ตั้งถิ่นฐานมายาวนาน

               ท าให้ผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนไม่สามารถเข้าใจภาพรวมของเส้นทางได้ทั้งหมด จึงอาจหลงทางได้ง่าย การท า
               กิจกรรมครั้งนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวมองเห็นภาพรวมของชุมชน  โครงข่ายการสัญจรและ
               สถานที่ส าคัญได้มากยิ่งขึ้น ภายใต้ข้อจ ากัดที่ไม่สามารถสร้างให้เกิดการมองเห็น (vision) มุมมองที่น าไปสู่ย่าน
               หรือสถานที่ส าคัญได้ก็ตาม นอกจากนั้น ความส าเร็จของการท ากิจกรรมในชุมชนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หาก

               คนในชุมชนไม่เห็นความส าคัญ ดังที่ชูวิทย์ สุจฉายา กล่าวว่า การมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูชุมชนของคนในชุมชน
               เอง เพื่อหาแนวทาง การตัดสินใจ ตลอดจนการให้ข้อสรุปที่เป็นเทคนิควิธีการมีส่วนร่วม เป็นวิธีการที่มี
               ประสิทธิภาพ ช่วยให้การฟื้นฟูชุมชนประสบความส าเร็จได้ (ชูวิทย์ สุจฉายา, 2552 : 8) นอกจากนั้น ภายใต้
               การมีส่วนร่วมยังช่วยให้การฟื้นฟูชุมชนตามความต้องการของคนในชุมชนเอง ซึ่งสอดคล้องกับการใช้เครื่องมือ

               จัดการความรู้ (KM  Tools) ด้านการเล่าเรื่อง (Story  Telling)  โดยคนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในชุมชน รวมทั้ง
               สามารถเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการน าไปพิจารณาใช้ในชุมชนอื่นๆ ได้ต่อไป

               ปัจจัยความส าเร็จและข้อเสนอแนะ

                       ชุมชนมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นวัด สถาปัตยกรรม ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ
               ประกอบกับต าแหน่งที่ตั้งที่เดินทางได้สะดวก จึงมีศักยภาพในการดึงดูดให้มีผู้คนสนใจเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชน
               เป็นทุนเดิม เมื่อจัดกิจกรรม “กราฟิกพาเดิน” ได้ช่วยดึงเอกลักษณ์ของชุมชนคลองบางหลวงให้โดดเด่นขึ้น

               น่าสนใจมากขึ้น เป็นกราฟิกที่มีความแตกต่างจากชุมชนอื่นๆ โดยเฉพาะการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนจากการ
               ที่มีคนเข้ามาเที่ยว ส่วนเด็กๆ ในชุมชนก็มีความภาคภูมิใจและรู้จักประวัติชุมชน ผู้ใหญ่จึงเห็นความส าคัญใน
               การรักษากราฟิกเหล่านี้ไว้ให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไป
                       จากการท ากิจกรรมครั้งนี้ จึงมีข้อเสนอแนะว่า ทางชุมชนควรมีการเพิ่มเติมต าแหน่งส าคัญที่เป็น

               เอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่นทั้งสิ่งที่ยังมีอยู่และสูญหายไปแล้ว พร้อมการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไป โดยอาจ
               แยกเป็นหมวดหมู่ เช่น สถาปัตยกรรม ศาสนสถาน อาหาร ศิลปะ วัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อให้ชุมชนมีกิจกรรม
               เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่เกิดความน่าเบื่อ และยังช่วยให้คนใน

               ชุมชนได้มีโอกาสท ากิจกรรมร่วมกันทุกเพศทุกวัย มีความภาคภูมิใจในสิ่งที่คิดผลงานที่ร่วมแรงร่วมใจกันท า

               สรุป

                       “กราฟิกพาเดิน เพลิดเพลินในชุมชนคลองบางหลวง” เป็นการท า workshop การสื่อความหมายด้วย
               กราฟิก (graphic) แทนการใช้ตัวอักษร เพื่อให้คนในชุมชนและผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเยือนเข้าใจง่ายและจดจ าได้ โดย
               ใช้ข้อมูลที่มาจากการส ารวจพื้นที่และการสัมภาษณ์คนในชุมชน จึงท าให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องแม่นย า และ
               เป็นการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM tools) ประเภทการเล่าเรื่อง (Story Telling) มาด าเนินกิจกรรม
               ซึ่งได้รับความสนใจและความร่วมมือจากคนในชุมชนอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการที่ทางชุมชนพยายามดูแล

               รักษากราฟิกที่ใช้น าทางไว้ให้มีความชัดเจนอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเข้าใจได้ง่ายและรู้จัก
               สถานที่ส าคัญประวัติของชุมชนมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมนี้ได้ช่วยให้คนในชุมชนเกิดความหวงแหน
               ชุมชนของตนและมีความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตที่มีคุณค่าแก่การเก็บรักษาไว้ ซึ่งเป็นหัวใจส าคัญที่ช่วยให้การ

               ฟื้นฟูชุมชนประสบความส าเร็จ
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225