Page 236 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 236

230


               ข้อความในการการเชื่อมต่อกับส่วนควบคุมคือ Joystick ผ่านทาง LCD และกล้องที่ติดตั้งบนตัวรถสามารถส่ง
               ภาพในที่ๆ รถเคลื่อนที่ไป กลับมายังผู้ควบคุมในรูปแบบเรียลไทม์ส่งมายังโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งรถส ารวจวัตถุ

               ต้องสงสัยควบคุมผ่านระบบ Wi-Fi ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการท างานได้ดีเหมือนกับการพัฒนาหุ่นใน
               รูปแบบต่าง ๆ เพื่อการใช้งาน ดังนี้
                 ศุภโชค ซื่อตรงและคณะ. 2555 ได้ศึกษาและพัฒนาโครงงานหุ่นยนต์บังคับด้วยระบบไร้สายผ่าน
               คอมพิวเตอร์ขึ้นโดยมีเป้าหมายพัฒนาหุ่นยนต์ที่ยังควบคุมในแบบมีสายเคเบิ้ลอยู่ให้สามารถควบคุมได้แบบไร้

               สายซึ่งหุ่นยนต์ที่จะน ามาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ ถ้าเราใช้การควบคุมแบบมีสายเคเบิ้ลจะท าให้
               การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์นั้นล าบาก แค่การหมุนตัวของหุ่นยนต์ก็อาจจะท าให้สารเคเบิ้ลนั้นไปพันกับตัวของ
               หุ่นยนต์หรือหุ่นยนต์เข้าไปในพื้นที่ที่มีความซับซ้อนจะท าให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ล าบากเพราะต้องลากสายเคเบิ้ล
               ไปด้วย และในงานที่ต้อง ควบคุมในระยะไกลๆเราก็ต้องมีสายเคเบิ้ลที่ยาวเพียงพอส าหรับงานนั้นๆด้วย โดยส่ง

               สัญญาณด้วยคลื่นวิทยุโดยชุดส่งคลื่นวิทยุจะท าหน้าที่รอรับข้อมูลจากพอร์ตสื่อสาร อนุกรม RS232 จากขา RX
               ของคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณความถี่ (GFSK) ส่งออกไปในอากาศ และในทาง กลับกันในโหมดการ
               ทางานแบบรับ (Receiver)  ชุดรับคลื่นวิทยุจะท าหน้าที่คอยตรวจจับข้อมูลที่อยู่ในรูปของสัญญาณความถี่
               (GFSK) จากด้าน RF เพื่อแปลงกลับเป็นข้อมูลแบบ RS232 แล้วส่งไปยังไมโครคอนโทรเลอร์ของตัวหุ่นยนต์

               (ศุภโชค, 2555)
                 คุณากร เลิศศรีสุขสันต์ และคณะ. 2541 ได้ศึกษาและพัฒนาโครงการหุ่นยนต์ส ารวจวัตถุระเบิด     I
               ROBOT BOOM ขึ้นกล่าวว่าโดยเดิมการกู้ระเบิดแต่ละครั้งต้องใช้คนเข้าไปส ารวจวัตถุระเบิดว่าระเบิดนั้นเป็น

               ว่าระเบิดชนิดใด เราจึงได้คิดหาวิธีในการลดความเสี่ยงต่อชีวิตมนุษย์ในการกู้ระเบิดแต่ละครั้ง จึงได้สร้าง
               หุ่นยนต์ส ารวจวัตถุระเบิด หุ่นยนต์ส ารวจวัตถุระเบิดเป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อ ใช้กับโลกแห่งความรุนแรงใน
               ปัจจุบันและเพื่อลดความเสี่ยง ในการกู้ระเบิด เพราะในการกู้ระเบิดแต่ละครั้งก็ต้องใช้คนเข้าไปส ารวจก็อาจจะ
               เกิดการเสี่ยงเกินไป เพราะระเบิดนั้นอาจจะเป็นระเบิดเวลาที่จะหมดเวลาแล้วหรืออาจจะเป็นระเบิดที่
               จุดชนวนด้วยรีโมทก็ได้ ดังนั้นการสร้างหุ่นยนต์ส ารวจวัตถุระเบิดขึ้นมาเพื่อน าเข้าไปตรวจสอบวัตถุระเบิดแทน

               คนโดยการบังคับเข้าไปใกล้ๆวัตถุระเบิดแล้วให้ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบจากคอมพิวเตอร์อีกที เพื่อการกู้ระเบิดที่
               ถูกจุดและถูกวิธี และเป็นแนวความคิดในการพัฒนาต่อไป (คุณากร, 2541)

               ข้อเสนอแนะ

                 1.   ควรศึกษาการควบคุมการท างานของหุ่นยนต์ในแบบต่างๆ เช่น Bluetoothและ Wi-Fiชนิดอื่นๆ
                 2.   ควรศึกษาอุปกรณ์ชนิดต่างๆที่สามารถใช้กับบอร์ดได้เพราะ หากอุปกรณ์ที่ต้องการนั้นไม่มีก็สามารถที่
               จะหาอุปกรณ์ที่มีลักษณะไกล้เคียงแทนกันได้
                 3.   สิ่งที่ควรพัฒนาต่อจากเดิมคือการส่งเสียงจากผู้ควบคุมไปยังผู้ประสบภัยที่รถส ารวจเข้าไปท าการ

               ส ารวจ

               เอกสารอ้างอิง


               วรางคณา ทองนพคุณ. 2558. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต (21st Century  Skills: The

                        Challenges Ahead)  19 เมษายน 2558. (Online) http:// phd.mbuisc.ac.th
               ศุภโชค ซื่อตรง. 2555. โครงงานหุ่นยนต์บังคับด้วยระบบไร้สายผ่านคอมพิวเตอร์, โครงการนักศึกษาภาควิชา
                        อิเล็กทรอนิกส์.
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241