Page 240 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 240
234
ผู้พัฒนาได้น า KM Tools การพูดคุยเสวนา (Dialogue) มาใช้โดยในฐานะที่เป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่
ชุมชน ได้ไปประชุมร่วมกับผู้น าชุมชน ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวในชุมชน ได้พูดคุยเสวนา ร่วม
แสดงความคิดเห็น และรับฟังปัญหา ในประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งเน้นในเรื่องของ
การพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ในชุมชน ผู้พัฒนาได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นจากการด าเนินธุรกิจ
โฮมสเตย์ จึงเกิดความคิดที่จะน าความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารธุรกิจ
โฮมสเตย์ในชุมชน เพื่อช่วยเหลือชุมชน
ผลที่ได้จากการเข้าร่วมพูดคุยเสวนา ท าให้ทราบประเด็นปัญหาจากการบริหารธุรกิจโฮมสเตย์ เช่น
รูปแบบการเผยแพร่โฆษณาที่เจ้าของธุรกิจโฮมสเตย์ต้องการ รูปแบบและขั้นตอนการจองที่ง่ายและสะดวก
รูปแบบเส้นทาง ชุดการท่องเที่ยวที่สามารถเพิ่มยอดการจองโฮมสเตย์ในชุมชนได้
2. ทักษะการสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration) ซึ่งหมายถึง การสื่อสาร
อย่างซับซ้อน(complex communicating) เป็นการสื่อสารที่เกิดจากความร่วมมือกัน เพื่อให้สามารถท างาน
ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ
ผู้พัฒนาใช้ KM Tools การเล่าเรื่อง (Story Telling) โดยจากการประชุม ท าให้ผู้พัฒนาได้น าปัญหา
การจัดการยอดการจองโฮมสเตย์ ปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโฮมสเตย์ มาเล่าให้เพื่อนในชั้นเรียนฟัง
และร่วมกันระดมความคิดแก้ไขปัญหากับเพื่อนในชั้นเรียนและปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัย
(Coaching) เพื่อช่วยให้ได้ทางออกที่ดีโดยใช้เทคโนโลยีศาสตร์ความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้
ผลจากการเล่าเรื่องท าให้ผู้พัฒนาเกิดความคิดในการแก้ปัญหาจากการบริหารธุรกิจโฮมสเตย์ได้อย่าง
ชัดเจน คือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างเว็บไซต์ศูนย์รวมธุรกิจโฮมสเตย์ โดยมีรูปแบบการเผยแพร่ การ
ประชาสัมพันธ์โฮมสเตย์ และกระบวนการในการจองโฮมสเตย์ที่สะดวกและรวดเร็ว เพื่อช่วยในการ
บริหารธุรกิจโฮมสเตย์ในชุมชนคีรีวง
3. ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation) ซึ่งหมายถึง การ
ประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์ ร่วมกับการท างานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดความคิดที่แปลกใหม่และ
สร้างสรรค์โดยการใช้นวัตกรรม
ผู้พัฒนาได้น า KM Tools การทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Review-AAR) มาใช้ร่วมกับ
กระบวนการ SDLC (โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2545) คือ
1. การเข้าใจถึงปัญหา (Problem Recognition) ของธุรกิจโฮมสเตย์ ที่ปัจจุบันได้เกิดเทคโนโลยี
สมัยใหม่ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงในการจัดการบริหารธุรกิจของเจ้าของธุรกิจโฮมสเตย์
2. การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) คือ การก าหนดว่าปัญหาของการบริหารโฮมเสตย์
มาจากการท างานที่ไม่เป็นระบบ ผู้พัฒนาต้องสร้างระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารโฮมเสตย์ เพื่อช่วยใน
การบริหารจัดการโฮมสเตย์ให้เป็นระบบและไม่ยุ่งยากต่อการใช้งานของผู้ใช้หรือเจ้าของโฮมสเตย์
3. การวิเคราะห์ (Analysis) ระบบ ผู้พัฒนาเริ่มตั้งแต่การศึกษาระบบการท างานของธุรกิจโฮมสเตย์
ควรว่าเป็นระบบที่มีการจัดการที่ง่ายและสะดวกไม่ยุ่งยากซับซ้อนต่อการใช้งานของผู้ใช้
4. การออกแบบ (Design) หลังจากการวิเคราะห์ระบบแล้วผู้พัฒนาได้ออกแบบเว็บไซต์ศูนย์รวมธุรกิจ
โฮมสเตย์ขึ้น โดยมีเมนูการใช้งานที่ตรงกับความต้องของผู้ใช้ เช่น เมนูการค้นหาบ้านพัก การจองบ้านพักของ
ลูกค้าธุรกิจโฮมสเตย์ เมนูการล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบของเจ้าธุรกิจโฮมสเตย์ในการเลือกดูรายงานยอดจองโฮมส
เตย์