Page 283 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 283
277
9. IQCs (Innovation and Quality Circles)
การประยุกต์ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ที่หลากหลายรูปแบบในการด าเนินกิจกรรมการเรียนรู้ที่
ผ่านมา ได้ระดมความคิดในการบริการวิชาการสู่สังคมร่วมกับบุคลากรและนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาที่มี
ประสบการณ์ตรงเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปุ๋ยชีวภาพ น้ าหมัก
ชีวภาพ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ การจัดการดิน น้ า และพลังงานทดแทนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง จัดท าสื่อ
การสอนและสร้างฐานการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ปัจจัยแห่งความส าเร็จ
1. นวัตกรรมการเรียนรู้แบบเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เป็นการบูรณาการศาสตร์เพื่อการ
เรียนรู้เป็นทีมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community knowledge)
2. การใช้โครงงานเป็นฐานเรียนรู้ (Project-based) มีการวางแผน การคิด การรวบรวมข้อมูลสู่การ
เรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการเรียนรู้จากการให้บริการ (Service) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญ
3. การขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (Research-driven) เชื่อมโยงความรู้ที่สังเคราะห์จากการวิจัยที่
สามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับท้องถิ่นชุมชน ซึ่งเป็นการน าความรู้ไปแก้ปัญหาชุมชนโดยใช้โครงงาน
4. นักศึกษาสามารถร่วมมือ (Collaboration) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากโครงงานต่างๆ ระหว่าง
ชุมชน สถาบันการศึกษาต่างๆ จากการจัดนิทรรศการและการร่วมประชุมวิชาการระดับภูมิภาค
ผลการด าเนินงาน
จากกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับงานวิจัย/งานสร้างสรรค์เพื่อน าองค์ความรู้สู่การ
บริการวิชาการแก่ชุมชน พบประเด็นส าคัญที่ด าเนินการ 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย 1) น้ า ดิน พืช 2) เกษตร
และพลังงานทดแทน และ 3) การจัดการขยะ (ภาพ 1A) พัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้
นวัตกรรมแบบโครงงานบูรณาการ จากรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยน าปัญหาใน
ชุมชนที่มีความสนใจร่วมกันมาด าเนินการแก้ไขเป็นล าดับแรก โดยเฉพาะชุมชนเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยสร้าง
เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มเข็ง อาทิเช่น ชุมชนปากรอ และชุมชนร าแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา
(ภาพ A2) ชุมชนชัยมงคลวิทย์ และชุมชนเขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา (ภาพ A3) ชุมชนโคกม่วง และชุมชน
ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา (ภาพ A4)
ภาพ A1 ภาพ A2
ภาพ A3 ภาพ A4