Page 282 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 282
276
สถานการณ์จริง เพื่อสร้างโอกาสเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และพบแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
และสร้างสรรค์ให้นักศึกษาเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติ (Learning by doing) ในพื้นที่เรียนรู้จริงโดยการ
สร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน
4. การสร้างแรงจูงใจเพื่อการเรียนรู้ (Inspiration of Learning)
ให้นักศึกษาสนใจอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อตระหนักถึงเป้าหมายและความส าคัญของการเรียนใน
รูปแบบกรณีศึกษาจริง (Real Application, Case Study) ในพื้นที่โรงเรียนและชุมชน ทั้งกระบวนการเรียนรู้
แบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา (Engagement) สร้างกิจกรรมความรับผิดชอบร่วมกันใน
ทีมและระหว่างเพื่อนร่วมชั้น (Peer Responsibility) เป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการสอนแบบโครงงาน
บูรณาการสร้างสรรค์ประโยชน์สู่ชุมชน
5. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
หลังจากกระบวนการสร้างแรงจูงใจเพื่อการเรียนรู้ สร้างทีมนักศึกษา ทีมละ 7-9 คน แต่ละทีมสร้าง
กระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อก าหนดประเด็นปัญหาตามความถนัดของทีม ในปัญหา ดิน น้ า ป่าไม้
เกษตร พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม เพื่อเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานและการจัดการทรัพยากร แต่ละ
ทีมลงปฏิบัติการร่วมกับชุมชนในทุกขั้นตอน เป็นการปฏิบัติในพื้นที่จริงโดยนวัตกรรมการสอนแบบโครงงาน
บูรณาการ เพื่อแก้ปัญหา 3 กลุ่ม จากการทบทวนสรุปบทเรียน (AAR) ข้างต้น
6. การเรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมา (Lesson Learned)
หลังจากการบริการวิชาการจากนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นทีมสู่การรับผิดชอบ
ต่อชุมชน มีการสร้างกระบวนการทบทวนบทเรียนร่วมกับโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวนการ
ท างานเพื่อหาจุดบกพร่องของเทคโนโลยีที่ใช้แก้ปัญหาและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน เพื่อที่จะได้น ามา
ปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการบริการวิชาการแก่ชุมชนในครั้งต่อไป
7. การถ่ายทอดความรู้โดยการเล่าเรื่อง (Story telling)
หลังจากด าเนินการทบทวนบทเรียนร่วมกับโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจุดบกพร่องของ
นวัตกรรมการสอนแบบโครงงานบูรณาการสร้างสรรค์ชุมชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ทีม
นักศึกษาประยุกต์ใช้นวัตกรรมการสอนแบบโครงงานเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสงขลา เป็นการ
สร้างกระบวนการเรียนรู้จากความส าเร็จของทีมนักศึกษาจากการเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติ (Learning by
doing) ในพื้นที่เรียนรู้จริงและสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชน
8. เวทีส าหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Forum)
กระบวนการเรียนการสอนที่บูรณาการกับงานวิจัยและงานสร้างสรรค์น ามาซึ่งปัญหาจึงสร้าง
กระบวนการเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา โรงเรียนและชุมชน สร้างชุดการสอนการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action
Learning) ในพื้นที่จริงผ่านนวัตกรรมการสอนแบบโครงงานบูรณาการเรียนรู้สร้างสรรค์ชุมชน ซึ่งทีมนักศึกษา
ที่เรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อมของ มทร.ศรีวิชัย ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่าน
การบริการวิชาการแก่ชุมชนทั้งในมหาวิทยาลัยและสถานที่จริงในชุมชน นอกจากนี้ทีมนักศึกษายังเข้าร่วม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีสัมมนาวิชาการทั้งในมหาวิทยาลัยและระหว่างมหาวิทยาลัยเครือข่ายใน
ภาคใต้ และทีมนักศึกษายังเข้าร่วมจัดนิทรรศการระดับชาติเพื่อสร้างสรรค์เครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้
Engagement Thailand 2015 (EnT2015) เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และให้ชุมชนได้มีโอกาส
ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษากับชุมชนและสถาบันต่างๆ เพื่อให้ทีมนักศึกษาและชุมชนมี
ความสามารถในการใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์