Page 287 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 287
281
การบูรณาการการสอนสู่การบริการวิชาการแก่ชุมชนโดยนวัตกรรมการสอนแบบโครงงาน ที่เกิดจาก
การร่วมคิดร่วมท าแบบพันธมิตรและหุ้นส่วน (Partnership) ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
(Mutual Benefits) เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และน าไปสู่ผลงานวิชาการและเกิดผลกระทบต่อชุมชนที่ประเมินได้
อภิปรายและสรุปผลการด าเนินการ
จากผลการถ่ายทอดความรู้โดยนวัตกรรมการสอนแบบโครงงานสร้างสรรค์ชุมชน ตั้งแต่ปี 2555-2559
โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM tools) ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และการด าเนินการส าเร็จไปได้ด้วยดี ท า
ให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ของนักศึกษา สร้างชุมชนให้เข้มแข็งในหลายๆ ด้าน ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ นักศึกษาร่วมสร้างสรรค์กับภาคีสมาชิกต่างๆ ในชุมชน สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้
จากนวัตกรรมการสอนแบบโครงงานบูรณาการ ซึ่งประยุกต์ใช้ตามลักษณะภูมิสังคมและ ศิลปวัฒนธรรม
สามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในโรงเรียนชัยมงคลวิทย์ และชุมชน โดยปฏิบัติการเรียนรู้วิถีพอเพียง 8 ฐาน
เรียนรู้ ลดรายจ่ายค่าอาหารเช้าและอาหารกลางวันปีการศึกษาละ 15,000 บาท สร้างรายได้เพิ่มจากผัก กล้วย
และสมุนไพรจ านวน 25,000 บาท/ปี ลดรายจ่ายจากการใช้แก๊ส LPG โดยใช้เตาชีวมวลลง 5,000 บาท/ปี
และประยุกต์ใช้โซล่าร์เซลล์ลดพลังงานไฟฟ้าลง 2,000 บาท/ปี ลดขยะในโรงเรียนและชุมชนโดยสร้างรายได้
จากโครงการขยะแลกไข่ 2,000 บาท/ปี และเกิดศูนย์เรียนรู้วิถีพอเพียง ต่อมามีการขยายผลการผลิตเตาชีว
มวลไปยังชุมชนทุ่งลาน และชุมชนตะโหมด แต่ละชุมชนลดรายจ่ายลงปีละ 2,500 บาท และมีการผลิตปุ๋ย
ชีวภาพ และน้ าหมักชีวภาพ ลดรายจ่ายในครัวเรือนแต่ละชุมชนลงได้ปีละ 3,000 บาท ขณะที่ชุมชนทุ่งลาน
เกิดเครือข่ายเรียนรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพ และพลังงาน 3 กลุ่ม ซึ่งมีการผลิตปุ๋ยชีวภาพและเตาชีวมวล ท าให้เกิดเป็น
ศูนย์เรียนรู้เกษตรพลังงานสร้างสรรค์ชุมชน
ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ท าให้เกิดครอบครัว โรงเรียน และชุมชนอยู่ดีมีสุข เป็นนวัตกรรมที่
เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี มีการแบ่งปัน เอื้อเฟื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลดปัญหามลพิษในชุมชน ลดปัญหา
กลิ่นและแมลงน าโรคจากของเสีย ลดความขัดแย้ง เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ประโยชน์ของเสีย
และวัสดุเหลือใช้ เป็นแนวทางสร้างความเข้มแข็งและรากฐานพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน
นอกจากนี้ก็ยังเป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สามารถใช้เป็นแหล่งบริการวิชาการจนกลายเป็น
แหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชนในด้านต่างๆ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลายเป็นชุมชนเป็น
ต้นแบบและเกิดเครือข่ายในการถ่ายทอดประสบการณ์อย่างเป็นระบบ และส่งเสริมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ
จริงของนักศึกษา สร้าง “แรงบันดาลใจ (Inspiration)” แก่นักศึกษา ก่อเกิด“บริบทของการเรียนรู้ โดย
เล็งเห็นเป้าหมายในผลส าเร็จที่เน้นไปสู่การพัฒนาชุมชุนแห่งการเรียนรู้
บรรณานุกรม
กรรยา พรรณนา. 2553. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่
เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิคการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
จุรี ทัพวงษ์. 2552. การประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมในการจัดการศึกษาระดับ
อาชีวศึกษา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 5(1-2) : 67-80.
วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ.