Page 284 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 284
278
นวัตกรรมการสอนแบบโครงงานเป็นการสร้างรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ ส่งเสริม กระตุ้น
กระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา (Learning Activity) โดยการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติ
ร่วมกับโรงเรียนและชุมชนทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง (ภาพ B1) และสรุปการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาชุมชน เมื่อ
ปฏิบัติครบทุกขั้นตอน นวัตกรรมการสอนแบบโครงงานบูรณาการเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
(Technologies) ต่างๆ เช่น e-Learning, Test-Bank, Social Network หรือ On-Line Communication
ที่สามารถน ามาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรม เนื้อหา ในการเรียนการสอน ทั้งในห้องเรียนและนอก
ห้องเรียน สนับสนุนในการกระตุ้น อ านวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักศึกษา (ภาพ B2) สร้างรูปแบบ
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมชั้น (Peer Review and Collaboration) เป็นการเรียนรู้โดย
การฝึกปฏิบัติและการฝึกฝนซ้ าๆ (Continuing Practice) เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่นักศึกษา
วางแผน (Planning) ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนจนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติในพื้นที่จริง (ภาพ B3 และ B4)
ภาพ B1 ภาพ B2
ภาพ B3 ภาพ B4
การเรียนรู้ของนักศึกษาร่วมกับชุมชนโดยการจัดรูปแบบกิจกรรมผ่านเวทีเสวนากลุ่ม การอบรมเชิง
ปฏิบัติการ และการจัดนิทรรศการในชุมชนชัยมงคล (ภาพ C1) ชุมชนปากรอ (ภาพ C2) วัดเขาแก้วชุมชนเขา
รูปช้าง (ภาพ C3) ชุมชนวัดปรางแก้ว ชุมชนวัดบางศาลา และชุมชนทุ่งลาน (ภาพ C4) นอกจากนี้ก็มีเครือข่าย
เรียนรู้กลุ่มส่งเสริมการเกษตรบ้านท่าหรั่ง และกลุ่มเกษตรพลังงานสร้างสรรค์ชุมชน ต าบลทุ่งลาน (ภาพ C5
และ C6) เป็นการจัดการทรัพยากรดิน การใช้วัสดุเหลือใช้ การอนุรักษ์และการใช้พลังงานทดแทนในชุมชน
อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการจัดการทรัพยากร พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เกิดการเรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่องทั้งในมหาวิทยาลัย โรงเรียนและชุมชน