Page 321 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 321

315


                       After  exchange  of  knowledge  about  quality  control  “Quality  Class”  has  been
               accepted very well. It helps staff to reduce workload in the document control and easy to

               access  information.  This  technique  can  be  summarized  as  follows:  Year  2014  quality
               assurance used Dropbox to store and share Documents, year 2015 has been changed to use
               Google Drive for information on a larger scale. And present use Google Classroom to help to
               monitoring the interaction amorg staff. The benefits of implementing this technique. And

               knowledge management activities are beneficial to the enterprise level. The information is
               be able to shore and browse easily.
               Key words: quality assurance,  Dropbox,  Google Drive,  Google Classroom


               บทน า
                       การด าเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกด้าน อาทิด้านการ
               ผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านการบริหารจัดการ ในการนี้

               โครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขต
               จักรพงษภูวนารถ ได้ให้ความส าคัญในการบริหารจัดการ ในการก ากับติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ และการ
               พัฒนาคุณภาพ การด าเนินการตามตัวบ่งชี้ ทั้งในด้านของหลักสูตรและคณะ เพื่อสะท้อนการจัดการศึกษา

               อย่างมีคุณภาพ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การท างานประกันคุณภาพระดับหลักสูตร เพื่อเป็นการถ่ายทอด
               ประสบการณ์การท างาน และแลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรคในการท างาน และแนวทางการแก้ไข อีกทั้ง
               เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จึงต้องมีการปรับกระบวนการการควบคุม ก ากับติดตาม
               ข้อมูลในการปฏิบัติงานของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ โดยการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการท างาน
               และการสื่อสารระหว่างหน่วยงานได้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในโครงการจัดตั้งฯ ซึ่งกระจัดกระจาย

               อยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้คณาจารย์ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้
               และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อันจะส่งผลให้โครงการจัดตั้งฯ มี
               ความสามารถในการแข่งขันสูงสุด กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การ

               รวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
               การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การก าหนดแนววิธีปฏิบัติงานตลอดจนการใช้
               เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในโครงการจัดตั้งฯ ให้ดียิ่งขึ้น
                       โครงการจัดตั้งฯ จึงได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปัญหา แนวทางแก้ไข การด าเนินงาน

               ประกันคุณภาพ ในประเด็นความรู้ “ชั้นเรียนประกันคุณภาพ” เพื่อให้คณาจารย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับ
               หลักเกณฑ์ตัวบ่งชี้ของประกันคุณภาพ การมอบหมายงานประกัน และการเก็บข้อมูลเอกสารหลักฐาน เพื่อให้
               ง่ายต่อการค้นหา เรียกดู ข้อมูลหลักฐาน เมื่อมีการตรวจประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาความรู้มาเก็บบันทึก
               ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นแหล่งข้อมูลในศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยนความรู้ สะท้อนให้เห็นถึงการการจัด

               การศึกษาและการบริหารจัดการงานอย่างมีคุณภาพ

               วิธีการด าเนินงาน
                       การด าเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับ การประกันคุณภาพการศึกษา “ชั้นเรียนประกันคุณภาพ” ได้

               น าเครื่องมือของการจัดการความรู้ในรูปแบบของการจัดกลุ่ม การรวมตัวกัน ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
               พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ าเสมอ โดยมีขั้นตอนการด าเนินงาน ดังนี้
   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326