Page 40 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 40
34
ด้วยกัน ซึ่งผล การวิจัยนี้สามารถเป็นแนวผลิตบัณฑิตให้เห็นภาพกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน
เนื้อหารายวิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) ที่นักศึกษาต้องเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
โดย กระบวนการวิจัยนี้ได้สร้างตัวอย่างองค์ความรู้ด้านการอ่าน การใช้อวัจนภาษาในการสื่อสารผ่านการสอนร้อง
เพลงเรือให้กับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนสองโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอด
การร้องเพลงเรือตามลักษณะของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้คงอยู่ และเมื่อผลการวิจัยประสบความส าเร็จ ใน
การน าใช้กับกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงได้น าวิธีการที่ใช้ในกระบวนการวิจัยการสอนร้องเพลงเรือตามขั้นตอน ของแบบ
ฝึกดังกล่าวน าเผยแพร่สู่คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ให้เป็นลักษณะของการสอน ซึ่งการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้นี้เป็นไปตามรูปแบบการจัดการความรู้เป็นระยะๆ
วิธีการด าเนินงาน
จากการศึกษารายวิชา Thai for Communication เพื่อบูรณาการกับงานวิจัยและวางแผนด าเนินงาน
ระยะเวลา 1 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2559) และศึกษาองค์ความรู้การร้องเพลงเรือจากครูเพลงเรือของจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา แล้วน าวิธีการร้องเพลงเรือนั้นมาสร้างเป็นแบบฝึกและน าไปทดลองวิจัยให้กับนักเรียนกลุ่ม
ตัวอย่างสองโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเปรียบเทียบการเรียนก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมแบบฝึก
ช่วยร้องเพลงเรือ จากนั้นจึงเผยแพร่สู่บุคลากรต่างๆ ตามลักษณะรูปแบบของ KM ซึ่งสามารถสรุปเป็นขั้นตอน
การด าเนินตามตาราง ได้ดังนี้
กิจกรรม ระยะเวลา
๑. ขออนุมัติโครงการ ต.ค. – พ.ย. 2558
๒. ศึกษาข้อมูล ธ.ค. 2558
๓. เตรียมแบบสัมภาษณ์ และสร้างแบบฝึก ม.ค. – ก.พ. 2559
๔. เก็บข้อมูล ก.พ. – มี.ค. 2559
๕. ทดสอบข้อมูลโดยใช้แบบฝึกสอนเพลงเรือ มี.ค. – พ.ค. 2559
๖. วิเคราะห์ข้อมูลผลการใช้แบบฝึกตามวิจัย พ.ค. – ก.ค. 2559
๗. จัด KM บุคลากรภายใน-ภายนอก /ท าเล่ม ก.ค. – ก.ย. 2559
ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน
อาจารย์สาขาภาษา (ภาษาไทย) ทราบแนวสอนจากผู้วิจัย และบุคลากรภายนอกต่างๆ สามารถน า
วิธีการสอนการฝึกร้องเพลงเรือตามกระบวนการวิจัยไปใช้ต่อซึ่งสามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีนี้ให้คงอยู่ได้
โดยมีการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากงานวิจัยที่ใช้นวัตกรรมแบบฝึกช่วยร้องเพลงเรือให้กับบุคลากรทั้ง
ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ทราบเมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2559 โดยผศ.นันทวดี วงษ์เสถียร รอง
คณบดีด้านวิชาการและการวิจัย ได้เป็นประสานให้อาจารย์ศุภชาติ เสถียรธนสาร จัดกิจกรรม KM โดยน า ผลงาน
การวิจัยมาเผยแพร่สู่คณาจารย์สาขาภาษา (ภาษาไทย) พร้อมเชิญอ.ดร.บุญสมหญิง พลเมืองดี รองคณบดีด้าน
กิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ ผศ.ศรีเวียง ไตรชิระสุนทร อ.ชานนท์ เรียนกิจ และอ.พรทิพย์ ผลไพร เข้าร่วม
ในการจัดเผยแพร่องค์ความรู้สู่อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลภายนอก ซึ่งอาจารย์ศุภชาติ เสถียรธนสาร ได้
ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ประสบผลส าเร็จจากงานวิจัยและแสดง หลักฐานความส าเร็จที่ใช้ฝึกนักเรียนได้ผล พร้อม
ถ่ายทอดให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่สอนอยู่ น าวิธีการของ อ.ศุภชาติ เสถียรธนสาร ไปสอนนักเรียนตามสถานที่