Page 35 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 35

29


               บทน า

                        ความต้องการใช้ยาสมุนไพร  การที่สกลนครเป็นจังหวัดต้นแบบด้านการแพทย์แผนไทยโดยมีการ

               ให้บริการการแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลประจ าอ าเภอ และ โรงพยาบาลส่งเสริม
               สุขภาพ ทั้งยังมีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยเฉพาะทางอีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยด้าน
               มะเร็ง วัดค าประมง และโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท ซึ่งสถานพยาบาลที่กล่าว
               มาได้สั่งยาสมุนไพรส่วนใหญ่มาจากห้างร้านจ าน่ายยาสมุนไพรตลาดกลางแถบกรุงเทพและปริมณฑล และปริมาณ

               ความต้องการเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ดังนั้นจ าเป็นต้องวางแผนการผลิตโดยด่วน

                        การสร้างรายได้เสริมจากการท านา การปลูกสมุนไพรสามารถท าได้หลายรูปแบบ เช่น ปลูกสมุนไพร
               เป็นพืชหลัก หรือตามแนวรั้วในบริเวณบ้าน ตามที่ว่างในนา หรือปลูกแซมไม้อื่นที่ปลูกในสวน โดยที่เกษตรกรไม่
               ต้องเพิ่มที่ดิน แต่เป็นการใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น ท าให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสมุนไพรเสริมรายได้
               จากการท านา สามารถขยายก าลังการผลิตสมุนไพรเพื่อเป็นอาชีพใหม่ให้แก่ชาวบ้านได้อีกด้วย

                        การลดการเก็บสมุนไพรจากป่าธรรมชาติ  พืชสมุนไพรส่วนใหญ่สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีใน

               จังหวัดสกลนคร แต่ไม่มีการแนะน าส่งเสริมให้มีการปลูก ดังนั้นเมื่อจ าเป็นต้องใช้ยาสมุนไพร ชาวบ้านมักจะเก็บ
               ผลผลิตสมุนไพรหลายชนิดเก็บได้จากป่าธรรมชาติ เช่น ป่าภูพาน ป่าภูลังกา ป่าดอนปู่ตา ป่าชุมชนต่างๆ โดยเข้า
               ไปตัดเอามาใช้ท ายาสมุนไพร หรือจ าหน่ายไปยังร้านขายยา ท าให้พรรณไม้หลายชนิดถูกท าลายบางชนิดเริ่มสูญ

               พันธ์ไปจากป่า เช่น ตูมกาแดง ประดงเลือด จันแดง ตูมกาทอง กวาวเครือขาว เป็นต้น การส่งเสริมให้เกษตรกร
               ผลิตสมุนไพรท าให้เกิดการเรียนรู้ วางแผน และพัฒนาระบบการใช้สมุนไพรแบบยั่งยืน ลดปัญหาการเก็บสมุนไพร
               จากแหล่งธรรมชาติ

                        ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีปริมาณสมุนไพรเพียงพอต่อความต้องการใช้ในงาน
               สาธารณสุข  ทั้งชนิดและปริมาณของสมุนไพร  เพื่อลดปริมาณการซื้อวัตถุดิบยาสมุนไพรจากตลาดกลาง และ

               เพื่อให้ได้ชุมชนต้นแบบในการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรปลอดสารพิษของจังหวัดสกลนคร

               วิธีการด าเนินงาน

                 กิจกรรม ประชุมสร้างการเรียนรู้เสริมสัมพันธ์ในกลุ่มสู่เป้าหมาย
                       หน่วยงานด าเนินการ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร.อีสาน
                        - รายละเอียดกิจกรรม จัดประชุมย่อยในแต่ละชุมชน จ านวน 10 ชุมชนๆ ละ 1 ครั้ง
                     - รายละเอียดกิจกรรม เสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การผลิตวัตถุดิบสมุนไพรแก่สมาชิก

                        - รายละเอียดกิจกรรม เสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรขั้นต้น
                        - รายละเอียดกิจกรรม จัดประชุมสรุปผลการด าเนินกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค์ ก าหนดแผนกิจกรรมในปี
                          ถัดไป และจัดตั้งสหกรณ์การผลิตสมุนไพร

                 กิจกรรม การผลิตวัตถุดิบสมุนไพรในแต่ละชุมชน
               หน่วยงานด าเนินการ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร.อีสาน

                        - รายละเอียดกิจกรรม สนับสนุนพันธุ์พืชสมุนไพรและปัจจัยการผลิตเบื้องต้น ให้กับกลุ่มเกษตรกรและ
                     สมาชิกสหกรณ์สมุนไพรสกลนคร จ ากัด
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40