Page 566 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 566
560
เสนอแนะถ้ามีโอกาสในครั้งต่อไปให้มีการท าผลิตภัณฑ์ที่ระลึกรูปแบบพระธาตุประจ าวันจ าลองเป็นการเพิ่ม
ช่องทางในการขายที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถรวมกลุ่มสร้างผลงานผลิตภัณฑ์ คิดหาแนวทาง
จ าหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมทั้งภายใน เช่น ศูนย์จ าหน่ายผลิตภัณฑ์ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตการศึกษานอก
ระบบ อ าเภอเมืองนครพนม รวมทั้งจ าหน่ายภายนอกชุมชน
ปัญหาของการด าเนินโครงการ เกิดจากการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เข้าอบรมที่มีพื้นฐานไม่เท่ากันเกิดจาก
ปัจจัยด้าน อายุ และประสบการณ์ ท าให้บางขั้นตอนต้องใช้เวลาเกินกว่าที่ก าหนดตามแผน และการคัดแยก
กลุ่มคนให้เหมาะกับงานที่ตนเองถนัด
ขั้นตอนการปรับปรุงด าเนินการให้เหมาะสม ( A : Act ) หลังจากทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นในการ
ด าเนินโครงการทางที่ประชุมคณะกรรมการด าเนินงานเสนอแนวทางแก้ปัญหาในการด าเนินงานครั้งต่อไป โดย
การแยกช่วงอายุ ทางกลุ่มแม่บ้านให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของงาน เนื่องจากงานบางอย่างต้องใช้ทักษะ
ที่มีความซับซ้อน เช่นการปั้นหล่อหรือสร้างพิมพ์หล่อ ต้องมีการคัดคนที่มีอายุช่วงวัยกลางคน ที่สามารถเรียนรู้
งานและสามารถน าไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นต่อไปได้
ผลและอภิปรายผลการด าเนินการ
จากการถ่ายทอดความรู้เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกอัตลักษณ์ชุมชนจังหวัดนครพนม ที่ด าเนินการ
ไปแล้วนั้น สามารถสรุปผล คือ การเรียนรู้ของกลุ่มแม่บ้านอ าเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีความสนใจในการ
สร้างงานผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกแสดงอัตลักษณ์ชุมชน และความร่วมมือเป็นอย่างดี มีความภาคภูมิใจใน
ผลงานที่ตนเองท า ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีและมีคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ ที่สามารถ
สื่อถึงอัตลักษณ์ชุมชนเป็นอย่างดี
การน าไปใช้ประโยชน์/กลุ่มชุมชนสามารถรวมกลุ่มสร้างผลงานผลิตภัณฑ์ คิดหาแนวทางจ าหน่ายเพื่อ
เป็นรายได้เสริมทั้งภายใน เช่น ศูนย์จ าหน่ายผลิตภัณฑ์ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษานอกระบบ อ าเภอเมืองนครพนม รวมทั้งจ าหน่ายภายนอกชุมชน ซึ่งจังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดที่
มีพื้นที่ติดชายแดน ไทย ลาว มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวศึกษาศิลปวัฒนธรรม
ท้องถิ่นท าให้เกิดช่องทางในการขายสินค้าผลิต ภัณฑ์ที่ระลึกได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยเกื้อหนุนความส าเร็จของการถ่ายทอดความรู้ คือ ผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้เปิดใจเรียนรู้สิ่ง
ใหม่ๆ การมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง การท างานเป็นทีม การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
การก าหนดประเด็นที่ชัดเจน และมีช่องทางการสื่อสารที่ดีและครอบคลุม
การด าเนินงานทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ที่เห็นความส าคัญของการถ่ายทอดความรู้สู่
ชุมชนในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตการศึกษานอกระบบ อ าเภอ
เมือง จังหวัดนครพนม ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ และช่วยติดต่อประสานงานกับทางกลุ่มชุมชน เพื่อเป็นแนวทางใน
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
บรรณานุกรม
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. 2549. การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่ม
ผลผลิตแห่งชาติ
ราชกิจจานุเบกษา. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่11. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
http://google.co.th (วันที่สืบค้น19 พฤศจิกายน 2559)