Page 59 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 59

53


               ท้องถิ่น ที่ต าบลแพรกหนามแดง อ าเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  เพื่อให้นักวิจัยเรียนรู้กระบวนการวิจัยเพื่อ
               พัฒนาคนในชุมชนให้เป็นนักวิจัยท้องถิ่น ระหว่างการท างานวิจัยแบบมีส่วนร่วมในชุมชน

                       - การเผยแพร่ผลงานวิจัยและนิทรรศการในพื้นที่ โดยร่วมกับส านักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และ

               องค์การบริหารส่วนต าบล จัดงานวันมันเทศ ทับน้ า และงานเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน เพื่อเป็นเวทีส าหรับการ
               แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยกับชุมชน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้น าผลงานวิจัยเข้าร่วมจัด
               แสดงในงานเกษตรอยุธยาแฟร์ และงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ

                       - ในทุกขั้นตอนของการท างาน เมื่อเสร็จสิ้นการท างานได้มีการทบทวนสรุปบทเรียน (After  action
               review หรือ AAR) เพื่อทบทวนกระบวนการท างานแต่ละขั้นตอน ท าการสรุปบทเรียน และตรวจสอบระดับของ

               การบรรลุวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ด้วย

               ผลและอภิปรายผลการด าเนินงาน


                       ผลกระทบที่เป็นประโยชน์หรือสร้างคุณค่า

                       ผลจากการพัฒนาระบบ กลไก การจัดการเพื่อให้เกิดการบูรณาการงานวิจัยและงานบริการวิชาการ เป็น
               งานวิชาการเพื่อสังคม ผ่านการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ พบว่า การจัดการงานวิจัยโดยก าหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อการ
               พัฒนาพื้นที่ ในต าบลทับน้ า อ าเภอบางปะหัน ต าบลสามเรือน อ าเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และน า

               นักวิจัยต่างสาขาวิชาการลงพื้นที่ศึกษาบริบทชุมชนแบบมีส่วนร่วม ท าให้ทราบปัญหาและความต้องการพัฒนาของ
               ชุมชน โดยพบว่าทั้งสองต าบลที่มีบริบททางสังคมที่แตกต่างกัน โดยต าบลทับน้ า อ าเภอบางปะหัน ประชากรส่วน
               ใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ครัวเรือนร้อยละ 95  มีรายได้หลักจากภาคการเกษตร ยังประสบปัญหา
               เช่นเดียวกับผู้ประกอบอาชีพเกษตรทั่วไป คือ ต้นทุนการผลิตสูง มีความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่
               แปรปรวน และราคาผลผลิตไม่แน่นอน ขณะที่ต าบลสามเรือน อ าเภอบางปะอิน มีหมู่บ้านจัดสรรและหอพัก

               จ านวนมากในพื้นที่ พื้นที่ของต าบลอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพนอกภาค
               การเกษตร และประชากรส่วนหนึ่งย้ายมาจากต่างถิ่น แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม สังคมมีลักษณะ
               ซ้อนทับระหว่างสังคมเมืองและชนบท ปัญหาหลักที่พบในพื้นที่ คือมลภาวะทางน้ าในคลองโพธ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ าที่

               หล่อเลี้ยงภาคการเกษตร  นอกจากปัญหาของพื้นที่ ขณะเดียวกันการศึกษาบริบทชุมชนยังท าให้ทราบว่าในชุมชน
               มีทรัพยากรธรรมชาติ มีภูมิปัญญา วัฒนธรรมและเครือข่ายทางสังคม ซึ่งเป็นทุนของชุมชน ท าให้นักวิจัยได้เรียนรู้
               แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับคนในชุมชน แสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือแนวทางการพัฒนาพื้นที่
               ร่วมกัน สามารถก าหนดเป็นโจทย์และพัฒนาเป็นหัวข้อวิจัย การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยจึงอยูบนพื้นฐานของ

               บริบท และเงื่อนไขของชุมชน และมีคนในชุมชนที่พร้อมเข้าร่วมในกระบวนการวิจัย เกิดข้อเสนอโครงการที่
               สอดคล้องตามแผนและทิศทางการพัฒนาของชุมชน ร้อยเรียงเป็นแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมีเป้าหมาย
               ร่วมกัน คือ การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรในชุมชน ให้คนในชุมชนสามารสร้างรายได้เพิ่ม
               จากทรัพยากรในชุมชน ด้วยความรู้และนวัตกรรมที่ใช้ต่อยอดภูมิปัญญา ซึ่งถ้าเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจ

               ฐานรากของประเทศพัฒนาได้ดีแล้ว จะลดความเหลื่อมล้ าทางสังคมซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

                       นักวิจัยท างานวิจัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและผูกพันกับคนในชุมชน จึงเปรียบเหมือนสัญญาใจที่ไม่
               ทอดทิ้งกัน ผลจากการด าเนินงาน ได้พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่สามารถท างานวิชาการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
               และสร้างความรู้ นวัตกรรม ที่สามารถใช้แก้ปัญหาตามความต้องการพัฒนาเชิงพื้นที่ การด าเนินงานในระยะ 2 ปี
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64